สังขารุเบกขากับอุเบกขาในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 175
หน้าที่ 175 / 324

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับอุเบกขาและสังขารุเบกขาที่ปรากฏในวิสุทธิมรรค แบ่งประเภทของอุเบกขาออกเป็นหลายชนิด รวมถึงการนำสมาธิและวิปัสสนามาใช้ในการควบคุมความรู้สึกและการวางเฉย ผลของการฝึกปฏิบัติตามหลักแนวคิดทางพุทธศาสนาเพื่อสร้างเสริมความเข้าใจในจิตใจและการดำเนินชีวิตอย่างมีสติ ศึกษาความหมายและบทบาทของสังขารุเบกขาในต่างๆ พร้อมยกตัวอย่างและการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง หวังว่าเนื้อหานี้จะช่วยให้ผู้อ่านมีความเข้าใจที่ดียิ่งขึ้นเกี่ยวกับการรักษาจิตใจให้สงบสุข.

หัวข้อประเด็น

-สังขารุเบกขา
-อุเบกขา
-วิสุทธิมรรค
-การวางเฉย
-วิปัสสนา
-การควบคุมความรู้สึก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 173 ที่พึงละมีนิวรณ์เป็นต้น (ที่ข่มไว้และละได้ด้วยฌานตามลำดับแล้วให้ เห็นตามสภาพ ) แล้วตกลงใจวางเฉยในอันจะถือเอา ( สิ่งที่ละแล้วเหล่า นั้นอีกเพราะเห็นโทษ ) อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " ถามว่าสังขารุ- เบกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารุเบกขาเท่าไรเกิดขึ้นด้วย อำนาจวิปัสสนา ? ตอบว่า สังขารุเบกขา 4 เกิดขึ้นด้วยอำนาจสมาธิ สังขารุเบกขา ๑๐ เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิปัสสนา "ดังนี้เป็นต้น นี้ชื่อว่า สังขารุเบกขา อุเบกขา ส่วนอุเบกขาใดที่หมายรู้ด้วยไม่ทุกข์ไม่สุข อันมา ( ในบาลี) อย่างนี้ว่า " ในสมัยใดจิตเป็นกามาวจรกุศลเกิดขึ้นสหรคตด้วย อุเบกขา " ดังนี้เป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า เวทนูเบกขา ส่วนอุเบกขาใดเป็นอาการที่วางเฉยในการเฟ้น (สังขาร ) อันมา ( ในบาลี ) อย่างนี้ว่า " สิ่งใดมี สิ่งใดเป็นพระโยคาวจรละสิ่งนั้น เสีย ย่อมได้อุเบกขา " ดังนี้ อุเบกขานี้ชื่อว่า วิปัสสนูเบกขา ส่วนอุเบกขาใดเป็นธรรมที่คุมสหชาตธรรม ทั้งหลายให้เสมอกัน อันมาใน เยวาปนกธรรมทั้งหลายมีฉันทะเป็นต้น อุเบกขานี้ชื่อว่า ตัตรมัชฌัตตุเบกขา อุเบกขาใดไม่ยังความตกเป็นฝักฝ่ายให้เกิดในตติยฌานนั้นที่แม้ มีสุขอย่างเลิศ อันมา ( ในตติยฌานปาฐะ ) อย่างนี้ว่า " อุเปกฺขโก จ * เยวาปนกธรรม ได้แก่ เจตสิก ๑๖ คือ ฉันทะ อธิโมกข์ อุเบกขา มนสิการ อุทธัจจะ กรุณา มุทิตา สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ มานะ อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ ถีนะ มิทธะ ที่เรียกว่า เยวาปนกะ คือกำหนดไม่ได้ว่า ธรรม ข้อไหนจะเกิดขึ้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More