ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที 147
ที่หมดจดแล้ว จิตย่อมดำเนินไปสู่สมถนิมิตอันเป็นสายกลาง (๑)
เพราะความที่ดำเนินไปแล้ว จิตย่อมดิ่งไปในสมถะนั้น (๑) ข้อที่จิต
หมดจดจากอันตรายก็ดี ข้อที่เพราะหมดจดแล้วจิตย่อมดำเนินไปสู่
สมถนิมิตอันเป็นสายกลางก็ดี ข้อที่เพราะดำเนินไปแล้ว จิตย่อมดิ่งไป
ในสมถะนั้นก็ดี นั้นเป็นปฏิปทาวิสุทธิเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน
นี้เป็นลักษณะ ๓ แห่งเบื้องต้น เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ปฐมฌาน
เป็นคุณมีความงามในเบื้องต้นด้วย ถึงพร้อมด้วยลักษณะ (๓) ด้วย
( ในข้อว่า ) ความเพิ่มพูนแห่งอุเบกขาเป็นท่ามกลางแห่งปฐม
ฌาน (นั้นถามว่า ) ลักษณะแห่งท่ามกลางมีเท่าไร (ตอบว่า ) ลักษณะ
แห่งท่ามกลางมี ๓ คือ พระโยคาวจรย่อมเพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่
หมดจดแล้ว (๑) ย่อมเพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่ดำเนินสู่สมถะแล้ว (๑)
ย่อมเพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งความตั้งมั่นโดยความเป็นหนึ่ง ( แห่งจิต) (๑)
ข้อที่พระโยคาวจรเพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่หมดจดแล้วก็ดี ข้อที่เพ่งดู
อยู่เฉยๆ ซึ่งจิตที่ดำเนินสู่สมถะแล้วก็ดี ข้อที่เพ่งดูอยู่เฉยๆ ซึ่งความ
ตั้งมั่น โดยความเป็นหนึ่ง ( แห่งจิต) ก็ดี นั้นเป็นความพอกพูนแห่ง
อุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน นี้เป็นลักษณะ ๓ แห่ง
เพราะเป็นทางดำเนินแห่งฌาน ปฏิปทานั้นหมดจดจากอันตรายแห่งฌาน เรียกปฏิปทา
วิสุทธิ ๆ นี้มีในอุปปาทขณะแห่งฌาน ท่านจึงกล่าวว่าเป็นเบื้องต้น ตตฺรมชฺฌตฺตุเปกขา
ที่เนื่องในฌาน เพิ่มพูนขึ้นโดยความสำเร็จกิจ เพราะไม่มีกิจอันใดอีก เรียกว่าอุเปกขานุ
พรหนา ๆ นี้มีในฐิติขณะแห่งฌาน ท่านจึงกล่าวว่าเป็นท่ามกลาง ความผ่องแผ้วเนื่อง
ด้วยความสำเร็จกิจแห่งฌานอันทำกิจให้สำเร็จ เรียกว่า สมุปห์สนา ๆ นี้มีในโอสานขณะ
แห่งฌาน ท่านจึงกล่าวว่าเป็นที่สุด