ความงามของศาสนธรรมหรือสุวากขาตะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2 หน้า 291
หน้าที่ 291 / 324

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงความงามที่เกิดจากการฟังและปฏิบัติศาสนธรรมซึ่งนำมาซึ่งความสุขและความเป็นตา ที่มีความงามในเบื้องต้น ท่ามกลาง และเบื้องปลาย ผ่านการประกาศพรหมจรรย์และแสดงศาสนธรรมต่างๆ โดยใช้หลักการของพยัญชนะและอรรถบท เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายและเข้าถึงพระธรรม.

หัวข้อประเด็น

-ความงามของศาสนธรรม
-การฟังและการปฏิบัติ
-ผลแห่งการปฏิบัติ
-การประกาศพรหมจรรย์
-หลักการพยัญชนะและอรรถบท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๒ - หน้าที่ 289 บรรลุได้ อนึ่ง ศาสนธรรมนั้น ( เมื่อ ) บุคคลฟังอยู่ ก็นำความงามมา ให้ได้โดยแท้ แม้ด้วยการฟัง โดยข่มนิวรณ์ได้ ในขณะฟัง ) เพราะ เหตุนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้องต้น ( เมื่อ ) บุคคลปฏิบัติอยู่ ก็นำความ งามมาให้ได้แม้ด้วยการปฏิบัติ โดยนำความสุขในสมถะและสุขใน วิปัสสนาให้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในท่ามกลาง และ ( เมื่อ ) บุคคลปฏิบัติแล้วอย่างนั้น ครั้นผลแห่งการปฏิบัติสำเร็จ จแล้ว ก็ย่อม นำความงามมาให้แม้ด้วยผลแห่งการปฏิบัติโดยนำความเป็นตาที บุคคล (ผู้คงที่ไม่หวั่นไหว) มาให้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้อง ปลายแล ศาสนธรรมชื่อว่า สุวากขาตะ เพราะเป็นธรรมงามในเบื้อง ต้นงามในท่ามกลางและงามในเบื้องปลาย โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้ (เพราะประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ... พยัญชนะ ...] อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อทรงแสดงธรรม ย่อมทรง ประกาศคือทรงแสดงโดยนัยต่างๆ ซึ่งศาสนพรหมจรรย์ และมรรค พรหมจรรย์อันใด ศาสนพรหมจรรย์และมรรคพรหมจรรย์อันนั้น ชื่อ ว่า สาตฺถะ เพราะความถึงพร้อมแห่งอรรถ ชื่อว่า เพราะความถึงพร้อมแห่งพยัญชนะตามสมควร สพฺยญฺชนะ ชื่อว่า สาตฺถะ เพราะประกอบพร้อมด้วยอรรถบท ( บทแสดง อรรถ ๖ ) คือ สังกาสนะ ( แสดงความโดยสังเขป ) ปกาสนะ ( เริ่ม แสดงเป็นหัวข้อ) วิวรณะ ( ขยายความ) วิภชนะ ( จำแนกความ ) อุตตานีกรณะ ( ทำความให้ตื้น ) ปัญญัตติ (แต่งความให้เข้าใจ ) ชื่อว่า สพฺยญฺชนะ เพราะความถึงพร้อมแห่ง (พยัญชนบท 5 คือ )
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More