การเรียงประโยคอธิบายความในวิชาแปลไทย คู่มือ วิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.4-9 หน้า 259
หน้าที่ 259 / 374

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๗ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเรียงประโยคในวิชาแปลไทย โดยเน้นที่การเรียงคำศัพท์และการเดินประโยคอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะในชั้นประโยคที่สูงขึ้น ซึ่งนักศึกษาอาจพบความยากลำบากเนื่องจากประโยคแก้ความและการไขความที่มีซับซ้อนมากขึ้น การศึกษาในส่วนนี้ยังคงใช้หลักเกณฑ์จากระดับชั้นต้น แต่จะต้องจัดการกับประโยคที่ยาวและซับซ้อนกว่าเดิม เพื่อให้สามารถสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนได้มากขึ้น ที่มาของเนื้อหาเป็นการศึกษาเชิงลึกซึ่งสำคัญสำหรับนักเรียนในระดับสูงขึ้นเรื่อยๆ.

หัวข้อประเด็น

-วิธีการเรียงประโยค
-ความยากง่ายในวิชาแปลไทย
-การใช้ประโยคซับซ้อนในอธิบายความ
-หลักเกณฑ์การศึกษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๗ การเรียงประโยคอธิบายความ ในวิชาแปลไทยเป็นนครชั้นต้นฯ ส่วนมากเป็นเรื่องเกี่ยวกับท่อนนิทาน มีวิธีการเรียงคำศัพท์การใช้คำศัพท์ ตลอดจนกระทั่งการเดินประโยคตามปกติธรรมดาแบบง่ายๆ ไม่ซับซ้อนมากนัก เพียงจำศัพท์และระเบียบการเรียงได้ ก็พอจะเรียงให้มีรูปประโยคที่ถูกต้องได้ แต่ในชั้นประโยคสูงๆ วิชานี้จะเพิ่มความยากขึ้น ทั้งนี้เพราะได้แต่งเรื่องที่เป็นนิทานแต่เป็นอธิบายความ ขยายความ หรือที่เรียกกันในหมู่นักศึกษาว่า “ประโยคแก้ อรรถ” ซึ่งมีกับ “แก้คำ” และ “แก้ความ” มีเหตุมีผลอย่างในตัวเสร็จ แถมยังมี “การไขความ” เป็นทอดๆ ไปอีก ทั้งการเดินประโยคก็ซับซ้อนวุ่นวายขึ้น มีประโยคสักกร (ประโยค ย ๓) มากขึ้นด้วย ดังนั้น นักศึกษาส่วนมากจึงกลัววิชานี้กัน ทั้งที่ความจริงใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ตามที่เคยศึกษามาแต่ชั้นต้นๆ เหมือนกัน จะต่างกันนิดหน่อยก็ตรงที่ประโยคอธิบายความเช่นนี้ มักจะซับซ้อนและมีประโยคยาวขึ้นเท่านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More