กฎเกณฑ์การเรียงประโยคในประทักษ์บาลี คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 37
หน้าที่ 37 / 374

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๒ นี้กล่าวถึงกฎเกณฑ์ในการเรียงประโยคในภาษาบาลี โดยเน้นการวางศัพท์ให้ถูกต้องตามหลักที่กำหนด หากวางผิดที่อาจทำให้เกิดความคลุมเครือ ตัวอย่างที่นำเสนอคือการแปลประโยคจากภาษาไทยเป็นภาษาบาลีซึ่งอาจทำให้เกิดความหมายที่ไม่ชัดเจนได้ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การเรียงประโยคในภาษาบาลี
-ความสำคัญของการวางศัพท์
-ข้อยกเว้นในการเรียงประโยค
-ตัวอย่างประโยคที่คลุมเครือ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๒ กฎเกณฑ์การเรียงประโยค ในบทก่อนได้กล่าวไว้ว่า การวางโครงสร้างประโยคบาลี ต้อง เรียงศัพท์ให้ถูกหน้าที่ โดยให้บทขยายอยู่ข้างหน้าบทที่ถูกขยาย นี้เป็น กฎตายตัว แต่บทนี้จักกล่าวถึงรายละเอียดแห่งกฎเกณฑ์การเรียงประโยค โดยจะชี้แจงว่าควรจะวางศัพท์ต่างๆ ไว้ตรงไหนของประโยค และมี ข้อยกเว้นอย่างไร เป็นต้น การวางศัพท์ในประโยคบาลีนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าหาก วางผิดที่หรือสับหน้าสับหลังกัน นอกจากจะผิดความนิยมแห่งภาษา แล้วยังอาจทําให้ผิดความมุ่งหมาย หรือเกิดความคลุมเครือได้ ยกตัวอย่างเช่น ความไทยว่า “ภิกษุให้จีวรแก่สามเณร” กลับเป็นมคธว่า “ภิกขุ สามเณรสุส จีวร์ เทติ เรียงอย่างนี้มองดูเผินๆ ก็ไม่น่าจะผิดตรงไหน แต่ถ้าเอากฎ เกณฑ์เข้าจับแล้ว จะเห็นได้ว่าประโยคบาลีที่แต่งไว้นั้นคลุมเครือ คือ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More