ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๙๘ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙
ไหน หรือในประโยคที่ยาวควรจะตัดทอนประโยคตรงไหน จึงจะไม่เสีย
ความ ดังนี้เป็นต้น หากว่าตีความภาษาไทยไม่เป็น จับประเด็นไม่ถูก
หรือตีความไปอีกอย่างหนึ่ง ก็จะแต่งได้ไม่ดีหรือไม่ถูกเรื่องไปเลย
การที่จะต้องตีความก่อนนั้น
ก็เพราะลักษณะภาษาไทยมีถ้อยคำ
สำนวนหลากหลาย มีประโยคซับซ้อน และขาดความสมบูรณ์ในตัว แต่
ก็สามารถสื่อความหมายได้ เช่นข้อความว่า
“ในชุมชนที่ตั้งอยู่เป็นปึกแผ่นในแผ่นดินแห่งหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าบ้าน
เมืองหรือประเทศนี้ จำต้องมีคน ๒ จำพวก คือ คนทำกินหนึ่ง
คนปกครองหนึ่ง ในครอบครัวแห่งหนึ่ง มีแต่คนกินมาก มีคนหาน้อย
ครอบครัวนั้นไม่ช้าก็จะถึงความล่มจม แต่ถ้าช่วยกันหาช่วยกันกินจึงจะ
ตั้งอยู่ได้”
ตามตัวอย่างข้างบนนี้ จำต้องตีความเสียใหม่ เพราะเป็นภาษา
ไทยสันทัด คือมุ่งความเข้าใจในเนื้อหามากกว่ามุ่งไวยากรณ์ โดยจับ
ประเด็นเนื้อหาว่ากำลังกล่าวถึงเรื่องอะไรอยู่ ประโยคจบลงแค่ไหน
เป็นต้น
เมื่อตีความในภาษาไทยได้แล้ว จะต้องมากำหนดตีความใน
ภาษามคธอีกทอดหนึ่ง กล่าวคือต้องคำนึงถึงว่าความไทยที่ตีใหม่นั้นจะ
สามารถนำมาแต่งเป็นภาษามคธได้หรือไม่ หรือเมื่อแต่งเป็นภาษามคธ
แล้วจะยังคงเนื้อความเดิมอยู่หรือไม่ คือต้องคิดถึงหลักของทั้งสองภาษา
มิใช่คํานึงถึงภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ
ขอให้นักศึกษาทําความเข้าใจ และตระหนักไว้เป็นเบื้องต้นก่อนว่า