คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 42
หน้าที่ 42 / 374

สรุปเนื้อหา

บทเรียนแสดงถึงการวางศัพท์ในประโยคของวิชาแปลไทยเป็นมคธ โดยเน้นการใช้ศัพท์ที่เหมาะสมตามโครงสร้างประโยค ทั้งนิบาตต้นข้อความและศัพท์ขยายต่างๆ นอกจากนี้ยังมีวิธีการเรียงทุติยาวิภัตติที่ต้องสัมพันธ์กับกิริยาที่ตนขยาย และแนวทางในการเรียงประโยคเมื่อมีทุติยาวิภัตติหลายคำ ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทำความเข้าใจหรือแปลข้อความในตำรา การวางรวจและวิธีการเหล่านี้ช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การเรียงประโยค
-ทุติยาวิภัตติ
-ศัพท์ขยาย
-โครงสร้างประโยค
-การแปลภาษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๖ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ พอสรุปได้ว่า ศัพท์ที่จะวางไว้หน้าตัวประธานในประโยคได้ คือ นิบาตต้นข้อความ ศัพท์กาลสัตตมี ศัพท์ขยายกิริยา ซึ่งทำหน้าที่คล้าย ขยายประธานด้วย และศัพท์ขยายประธานโดยตรง ถ้าไม่มีศัพท์เหล่านี้ ให้เรียงประธานไว้ต้นประโยค วิธีเรียงทุติยาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ ในประโยคมีหน้าที่เป็นบทกรรมหรือเป็นบทขยาย กิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง และในทางสัมพันธ์ก็สัมพันธ์เข้ากับกิริยาอย่าง เดียว เพราะฉะนั้น จึงต้องเรียงไว้หน้ากิริยาที่ตนขยายและสัมพันธ์เข้า ด้วยเสมอ เช่น : สจาย์ ปุตต์ วา ตร วา ลภิสสติ, อยเมว กุฏมพลส สามินี ภวิสฺสติ ฯ (๑/๔๓) : ยถา ทารก ลภติ, ตเถว น กาตุ วัฏฏติ ฯ (๑/๔๓) : โส เทสนาปริโยสาน สตาร์ อุปสงฺกมิตวา ปพพชช์ ยาจิ ฯ (๑/๖) ข้อยุ่งยากในการเรียงทุติยาวิภัตติก็คือ เมื่อมีทุติยาวิภัตติหลาย ศัพท์ แต่ต่างสัมพันธ์กันอยู่ในประโยคเดียวกัน ซึ่งจะเรียงอย่างไรนั้น ข้อนี้มีวิธี ดังนี้ ๑. ถ้าบท อวุตฺตกมฺม (ซึ่ง) มาร่วมกับ การตกมุม (ยัง) อกถิตกมุม (กะ,เฉพาะ) และ อจฺจนฺตส์โยค (สิ้น,ตลอด) ให้เรียง อวุตฺตกมฺม ไว้ชิดกิริยาที่สุด นอกนั้นเรียงไว้หน้า อวุตฺตกมฺม เช่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More