ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ ๒๙๑
๑. มุขยประโยค
คือ ประโยคหลัก ประโยคสําคัญซึ่งจะขาดเสียมิได้ ในสังกร
ประโยคหนึ่งๆ จะมีมุขยประโยคอยู่เพียงประโยคเดียวเท่านั้น ข้อความ
ที่พิมพ์ด้วยตัวเน้นต่อไปนี้
จัดเป็นมุขยประโยค
พระภิกษุ ผู้ฉลาดในพระธรรมวินัย ย่อมได้รับการยกย่อง
ในหมู่สงฆ์อย่างมาก
พระพุทธรูป ที่อยู่ในโบสถ์ แสดงปาฏิหาริย์ให้คนเห็น
สร้อยคอ ซึ่งมีราคาแพงเส้นนั้น หายไปเสียแล้วเมื่อคืนนี้
ขอให้นักศึกษาสังเกตว่า ข้อความตัวเน้นนั้นเมื่อนํามาต่อกันเข้า
ก็จะได้ความสมบูรณ์ตามปกติ เช่น พระภิกษุย่อมได้รับการยกย่องใน
หมู่สงฆ์อย่างมาก ข้อความนี้เรียกว่า มุขยประโยค
ส่วนข้อความตัวเอียงเป็นประโยคแทรกเข้ามา เพื่อขยายความ
ข้อความนั้นเรียกว่า อนุประโยค ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไป เวลาแต่งเป็น
สำนวนมคธ ข้อความที่เป็นมุขยประโยคก็แต่งเป็นประโยค ต และ
อนุประโยคแต่งเป็นประโยค ย
๒. อนุประโยค
คือ ประโยคเล็ก ทำหน้าที่ขยายหรือปรุงแต่งมุขยประโยคให้มี
ความชัดเจนยิ่งขึ้น อนุประโยคนี้มี ๓ ชนิด คือ
๒.๑ นามานุประโยค คืออนุประโยคที่เป็นนาม ทำหน้าที่เป็น
บทประธาน บทกรรม หรือบทขยายในประโยคนั้นๆ แล้วแต่เนื้อความ