ข้อความต้นฉบับในหน้า
กฎเกณฑ์การเรียงประโยค ๒๓
อ่าน และไม่รู้เรื่องราวมาก่อน จึงต้องเขียนให้ชัดเจนชนิดดิ้นไม่ได้ อย่า
คิดว่ากรรมการมีความรู้ดีกว่าเรา ท่านรู้มาแล้วท่านคงแปลของเราได้
ต้องคิดว่า กรรมการนั้นมีหน้าที่คอยจับผิดและคอยจับผิดความรู้ของเรา
แม้จะรู้ว่าเราเข้าใจผิด ก็ต้องปรับเป็นผิดอยู่นั่นเอง
ดังนั้น การเรียงศัพท์เข้าประโยคให้ถูกต้อง ตามหลักแห่ง
ความนิยมทางภาษา และให้ชัดเจนไม่คลุมเครือว่าอย่างนี้ก็ได้ อย่าง
นั้นก็ได้ จึงเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อมีความเข้าใจกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการ
เรียงศัพท์แต่ละศัพท์ไปตามหน้าที่อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถสร้าง
ประโยคภาษาบาลีได้เองตามต้องการโดยไม่ยากนัก และจะเป็น
อุปการะในการศึกษาในชั้นสูงๆ ขึ้นไปอีกด้วย
วิธีเรียงปฐมาวิภัตติ
บทประธาน
ศัพท์ปฐมาวิภัตติ งทําหน้าที่เป็นบทประธานในประโยคนั้น มีที่มา
มากมาย ซึ่งพอสรุปให้เห็นได้ว่า ศัพท์ที่จะเป็นประธานได้นั้นก็คือศัพท์
จำพวกต่อไปนี้
๑. ศัพท์นามนามแท้ทั่วไป เช่น ภิกขุ ปุริโส อิตถี ธน
๒. ศัพท์นามนามผสม คือ ศัพท์สมาสหรือศัพท์ตัทธิตที่ผสมกัน
ตั้งแต่สองศัพท์ขึ้นไป และใช้เป็นนามนามได้ เช่น สนฺทสญญา ธมฺม
เทสนา สหายภาโว