คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 252
หน้าที่ 252 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือนี้เสนอวิธีการแปลจากภาษาไทยเป็นมคธ โดยเฉพาะการล้มประโยคเพื่อให้สามารถขยายความได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์ ในการแปลนี้มีการยกตัวอย่างการแปลประโยคภาษาไทยที่สามารถแยกเป็นประโยคใหม่ได้ รวมถึงการเพิ่มคำเพื่อสร้างประโยคที่มีความหมายชัดเจน การเรียนรู้เทคนิคเหล่านี้จะช่วยในการเรียนรู้และเข้าใจความหมายของแต่ละประโยคได้ดีขึ้น【อ่านข้อความเต็มเนื้อความอาจมีการขยายเพื่อให้เหมาะสมกับการตีความในภาษามคธ โดยสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาและรายละเอียดของการแปลได้ดียิ่งขึ้น สามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การแปลภาษาไทยเป็นมคธ
-การล้มประโยค
-การขยายประโยค
-การแยกประโยคใหม่
-ตัวอย่างการแปล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๓๖ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ เป็น - อิจฉัยมาน กโรติ ฯ = ฯ ความไทย : เธอจงกล่าวคำที่เรากล่าว เดิม = ยมห์ วทามิ, ตั วเทหิ ฯ เป็น = มยา วุจฺจมาน วเทหิ ฯ การล้มประโยค โดยวิธีขยายประโยค เนื้อความไทยในบางประโยคอาจขยายเป็น ๒ ประโยค ในภาษา มคธได้ โดยวิธีแยกตอนใดตอนหนึ่งออกมาตั้งประโยคใหม่ มีบทประธาน บทกิริยาครบถ้วน เป็นประโยคโดยสมบูรณ์ การทำเช่นนี้ เรียกว่า ล้ม ประโยคโดยวิธีขยายประโยค ซึ่งก็ได้แก่การเพิ่มประโยค ย ต เข้า มานั่นเอง เนื้อความที่อาจขยายประโยคได้ ได้แก่ เนื้อความของบทที่มี บทขยายอยู่ เช่น ขยายประธาน ขยายกิริยา ขยายกรรม เป็นต้น บทขยายเหล่านี้อาจนามาสร้างเป็นประโยคใหม่ช้อนขึ้นมา โดยวิธีเพิ่ม ย ไว้ต้นประโยค และเพิ่ม ต ไว้ประโยคท้ายเท่านั้น ส่วนจะมีรูป ย ต เป็นอย่างไรนั้น ก็แล้วแต่เนื้อความในตอนนั้นจะบ่ง ขอให้ดูตัวอย่างจากประโยคภาษาไทยก่อน เช่น ประโยคว่า : นายแดงผู้กำาลังป่วยหนักได้รับการรักษาอย่างดี อาจแยกเป็น ๒ ประโยคได้ว่า (๑) นายแดงกำลังป่วยหนัก (๒) นายแดงได้รับการรักษาอย่างดี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More