คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 348
หน้าที่ 348 / 374

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้เป็นคู่มือในการศึกษาและแปลประโยคจากภาษาไทยเป็นมคธ โดยแนะนำวิธีการใช้ประโยคอย่างถูกต้องและการสังเกตตามรูปแบบต่างๆ เพื่อเสริมสร้างความรู้และความมั่นใจในงานแปลสำคัญนี้ นักศึกษาในระดับปริญญาธรรมศาสตรบัณฑิตจะได้รับประโยชน์จากการสำรวจลักษณะของประโยคและแนวทางการแปลที่ไม่เป็นที่นิยม แต่ยังต้องพิจารณาถึงการใช้ที่ถูกต้องและสมัยนิยมในการประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง เพื่อเตรียมความพร้อมในการทำงานทางด้านภาษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุด.

หัวข้อประเด็น

-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับมคธ
-การแปลจากไทยเป็นมคธ
-ลักษณะของประโยคในภาษาไทยและมคธ
-การใช้ประโยคอย่างถูกต้อง
-การพัฒนาทักษะการแปล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๓๒ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ ข้อสังเกต ประโยคนี้ก็เหมือนกับประโยคต้น คือ ประโยค สเจ ลอยอยู่ประโยคเดียว ไม่มีความอื่นเข้ามารับ ประโยค ย ต นั้น ความ แยกอธิบายไปต่างหาก ถือว่าประโยคไม่สมบูรณ์ ไทย : ถ้าสร้างเมืองหลวงของประเทศไว้ที่ฝั่งน้ำด้านตะวันออก จะได้ลาแม่น้ำลึก เป็นคูรอบพระนครสามด้าน ฯ มคธ : สเจ ปุริมทิสาภาเค นทีปาเร รฏฐสุส ราชธานี กเรยยุ สา ปเนสา ราชธานี ตีห์ ปสเสหิ คมภีร์มหานที ปริขาภูตา โหติ ฯ ข้อสังเกต ประโยคนี้แม้จะได้ลักษณะประโยค สเจ แต่ก็ในประโยค หลังที่เป็นประโยครับหรือประโยคผล มีนิบาตต้นข้อความ คือ ปน อยู่ด้วย ซึ่งเห็นว่าไม่เป็นที่นิยมเพราะประโยคอย่างนี้เป็นสังกรประโยค มีนิบาต คือ สเจ เชื่อมความอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องใส่นิบาตเชื่อม ข้อความอื่นเข้ามาอีก กล่าวโดยสรุปก็คือ ขอให้นักศึกษาพิจารณาดูความนิยมตามที่ กล่าวมานี้แล้วไปสังเกตดูประโยคแบบนี้ที่ท่านใช้ในปกรณ์ต่างๆ เทียบเคียง ก็จะได้เพิ่มความรู้และความมั่นใจในการปรุงประโยคเช่นนี้มากยิ่งขึ้น ประโยค ย ต ความจริงประโยค ย ต หรือที่ภาษาไวยากรณ์เรียกว่า สังกร ประโยคนี้ นักศึกษาได้ศึกษากันมาและมีความเข้าใจกันพอสมควรแล้ว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More