ไวยากรณ์และสัมพันธ์ ๑๐๙ - กาลในอาขยาต คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 125
หน้าที่ 125 / 374

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอการศึกษากาลในอาขยาตซึ่งมีการใช้งานวิภัตติที่ชัดเจน นักเรียนควรทราบหลักการใช้วิภัตติแต่ละหมวดตามกาลและศึกษาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เรื่องที่กล่าวถึงในการใช้กาลจะถูกใช้ในรูปแบบที่แตกต่างกันตามสถานการณ์ เพื่อให้สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

- กาลในอาขยาต
- วิภัตติหมวดวัตตมานา
- หลักการใช้กิริยา
- ตัวอย่างการใช้งาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ไวยากรณ์และสัมพันธ์ ๑๐๙ กาลในอาขยาต กาลในอาขยาตไม่ค่อยซับซ้อนมากนัก เพราะวิภัตติที่บ่งกาล แต่ละหมวดได้บ่งไว้ชัดเจนดีแล้ว เพียงแต่นักศึกษาทบทวนแบบให้ดี และรู้จักใช้วิภัตติแต่ละหมวดให้ถูกต้องเท่านั้น ก็เป็นอันใช้ได้ กิริยาคุมพากย์แต่ละประโยคนั้นมีหลักเกณฑ์การใช้อย่างไรจึงจะ ถูกกาล ข้อนี้พึงศึกษารายละเอียดจากวิภัตติแต่ละหมวด พร้อมตัวอย่าง ดังต่อไปนี้ วิภัตติหมวดวัตตมานา (๑) เรื่องนั้นเป็นเรื่องปัจจุบัน และกำลังดำเนินเป็นไปอยู่ ยัง ไม่หยุดชะงัก เช่น : ตทา สาวตถิย์ สตฺต มนุสฺสโกฏิโย วสนฺติ ฯ (๑/๕) (แสดงว่าในขณะที่เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น มนุษย์ ๗ โกฏิ กำลัง อยู่ในเมืองสาวัตถี) : อย์ มหาชโน กุรี คจฉติ ฯ (๑/๕) (แสดงว่า ขณะถามนั้น มหาชนกำลังเดินกันไป) (๒) เรื่องที่กำลังกล่าวถึงนั้นเป็นเรื่องที่มีจริงเป็นจริงตลอดเวลา ที่เจ้าของกิริยามีชีวิตอยู่ หรือเรื่องนั้นเป็นเรื่องจริง มีจริง เป็นจริงอยู่ อย่างนั้นตลอดกาลเป็นนิจ ทั้งอดีต ปัจจุบันและอนาคต หรือเป็น สภาวะประจำธรรมดาของโลก อย่างนี้ใช้กิริยาเป็นวัตตมานาวิภัตติ เช่น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More