คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 264
หน้าที่ 264 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือนี้นำเสนอหลักการแปลจากภาษาไทยเป็นมคธ โดยเน้นความสำคัญของน้ำหนักและความหมายของคำในบริบทการแปล เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ถูกต้องและชัดเจน โดยเสนอวิธีการแก้ความและข้อสังเกตในการใช้ศัพท์ไทยที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิด การอธิบายจะต้องมีความสำคัญและสามารถเชื่อมโยงไปยังความหมายที่กว้างขึ้นได้ มีตัวอย่างการใช้ศัพท์ที่เหมาะสมมาแสดง เพื่อเป็นแนวทางในการจัดการกับการแปลทั้งหมดในบทเรียนนี้

หัวข้อประเด็น

-หลักการแปล
-การแก้ความ
-ศัพท์และวลี
-การอธิบายความ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๔๘ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ (๓) บทที่แก้นั้น จะต้องมีน้ำหนักและได้ใจความคล้ายคลึงหรือ เสมอกัน ไม่นิยมใช้ศัพท์ที่เมื่อใช้แล้วทำให้ความขาดน้ำหนัก หรือความ หมายด้อยลงไป เช่น ความไทย : บทว่า ภิกฺขุ แปลว่า ผู้ขอ ฯ เป็น : ภิกขูติ ภิกฺขโก (ไม่ใช่ ภิกขูติ ยาจโก ซึ่งทำให้ความด้อยไป) หลักการแก้ความ การแก้ความ ก็คือการอธิบายความโดยยกบทตั้งขึ้นแสดงเพียง บทเดียว แล้วอธิบายความคลุมไปถึงบทอื่นๆ ด้วยอย่างหนึ่ง กับยก บทตั้งขึ้นอธิบายความไปทีละบท จนหมดกระแสความอย่างหนึ่ง ในการอธิบายความนั้น อาจมีเนื้อความเพียงประโยคเดียว หรือ สองประโยคหรือกว่านั้น หรืออาจมีประโยค ย ต เข้ามาแทรก เพื่อให้ เนื้อความกระจ่างขึ้น อาจมีประโยคอุปมาอุปไมย มีข้อความเปรียบเทียบ เข้ามาแสดงร่วมด้วย ซึ่งในลักษณะเช่นนี้แหละที่ทำให้เกิดความสับสน หรือความเข้าใจผิดขึ้นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะเป็นการยากที่จะประกอบ ศัพท์และวางศัพท์ให้ถูกหลักเกณฑ์วิธีการได้ ในที่นี้จักชี้แจงพอเป็นข้อ สังเกต และพอเป็นแนวทาง ดังนี้ (๑) ในกรณีที่สำนวนไทยขึ้นบทตั้งแล้วลงว่า “เป็นต้น” แล้วอธิบาย ความไปหลายประโยคหรือหลายๆ คำ ซึ่งมากกว่าที่มีอยู่ในบทตั้ง อย่าง นี้ไม่ต้องใช้ อาทิ ศัพท์เข้ามา เพราะคำว่า เป็นต้นเป็นเพียงสำนวน การ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More