ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภวิสสันติ)
:
ไวยากรณ์และสัมพันธ์ ๑๒๑
(แสดงว่า ผู้พูดคาดเอาว่า น่าจะผู้นั้นเองที่ทำกรรมนั้น
หรือกรรมนั้น คงจะเป็นกรรมที่ผู้นั้นทำไว้)
โส เถโร อาคโต เวยย ฯ
(แสดงว่า ผู้พูดไม่แน่ใจ จึงคาดเอาว่าน่าจะมาแล้ว)
(๖) ๓ ปัจจัย มาคู่กับกิริยาอาขยาตหมวดภวิสฺสนฺติ
(ต +
ข้อความใด เป็นเรื่องคาดคะเนถึงอนาคต ซึ่งเรื่องที่คาดคะเน
นั้นอาจมีจริงหรือไม่มีจริงก็ได้ แต่ถ้ามีจริงเป็นจริงตามที่คาดคะเน
จะต้องเกิดมีขึ้นมานานแล้วด้วย ข้อความเช่นนี้จะต้องใช้ ต ปัจจัย กับ
กิริยาอาขยาตหมวดภวิสสันติ ต ปัจจัย บ่งถึงเรื่องที่มีมานานแล้ว
ภวิสสันติบ่งถึงอนาคตซึ่งไม่แน่นอน ตัวอย่างเช่น
: ต้นไม้นี้จักถูกเทวดาศักดิ์ใหญ่สิงอยู่แน่
: อย์ มเหสกขาย เทวตาย ปริคคหิโต ภวิสฺสติ ฯ (๑/๓)
(ศัพท์ว่า ปริคคหิโต แสดงว่า ถ้าสิงอยู่ก็สิงนานแล้ว ภวิสสันติ
แสดงถึงการคาดคะเน ยังไม่แน่ใจ)
ถ้าเรียงใหม่ว่า อยู่ มเหสกขาย เทวตาย ปริคฺคยฺหิสสติ ฯ
ความก็จะกลายเป็นว่า คาดการณ์ข้างหน้า ซึ่งเป็นอนาคตแท้ และ
เป็นการแสดงความมั่นใจว่าต่อไปจักเป็นอย่างนั้นแน่
ขอให้ดูประโยคต่อไปนี้เปรียบเทียบ
- ตยาปิ โกจิ นิทโทโส ปุริมภเว อกกุฏโฐ ภวิสฺสติ
ปหโฏ ภวิสฺสติ ๆ (๑/๔๑)