สํานวนนิยมในภาษาไทยและมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 159
หน้าที่ 159 / 374

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๔ กล่าวถึงความสำคัญของสํานวนภาษาที่มีในทุกชาติและภาษา โดยเน้นความเข้าใจเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ภาษาเดียวกัน การแปลความหมายของสํานวนให้เข้าใจได้ยากเมื่อถ่ายทอดไปยังอีกภาษา ตัวอย่างการเปรียบเทียบระหว่างสํานวนมคธกับไทย เช่น 'ขมนีย์' ที่แสดงถึงความหมายที่แตกต่างเมื่อลงรายละเอียด จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่นักศึกษาต้องเรียนรู้สํานวนทั้งสองภาษาเพื่อการแปลและแต่งประโยคให้ถูกต้องและมีอรรถรส

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของสํานวนในภาษา
-การแปลสํานวน
-ตัวอย่างสํานวนในภาษาไทยและมคธ
-การศึกษาสํานวนเพื่อวรรณคดี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๔ สํานวนนิยม ในทุกชาติทุกภาษาย่อมมีสํานวนภาษาเป็นของตัวเองทั้งสิ้น สำนวนภาษาถือว่าเป็นลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของภาษา ซึ่งเข้าใจความ หมายรู้กันเฉพาะในหมู่ผู้ที่ใช้ภาษานั้นๆ และสำนวนภาษานี้ อาจเป็น คำศัพท์เดียว หรือเป็นกลุ่มคำ หรือเป็นประโยคก็ได้ ที่มีความหมาย สละสลวยลึกซึ้งในตัว ซึ่งหากจะแปลถ่ายทอดไปสู่อีกภาษาหนึ่งตรงๆ แล้วย่อมเข้าใจได้ยาก หรือไม่ได้ใจความ อย่างเช่น ขมนีย์ ถ้าแปลตามตัวก็ได้ความว่า “พอทนได้” แต่ ความจริงคำนี้ เป็นสำนวนเท่ากับความไทยว่า “สบายดี” นั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงเป็นความจำเป็นที่นักศึกษาวิชาแปลไทยเป็น มคธหรือวิชาแต่งไทยเป็นมคธ จะต้องรู้จักสำนวน ทั้งของภาษามคธ และภาษาไทยได้ดี จึงจะแต่งประโยคบาลีได้ถูกต้องและได้อรรถรส ทางวรรณคดี ในเบื้องต้นขอให้นักศึกษาจําไว้ว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More