คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 20
หน้าที่ 20 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ สำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรู้การแปลภาษาไทยเป็นมคธ โดยแนะนำความสำคัญของหลักการเรียงประโยคและไวยากรณ์ที่แม่นยำ พร้อมด้วยการฝึกพัฒนาศัพท์และการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ความจำแม้มีความสำคัญ แต่การสอบผ่านยังต้องอาศัยความชำนาญในทุกๆ ด้านของการแปล

หัวข้อประเด็น

-หลักการเรียง
-ไวยากรณ์
-สำนวน
-ศัพท์
-การเขียน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

@ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ ผู้ต้องการเรียนรู้วิชานี้ จำต้องอาศัยความกล้าเป็นเบื้องต้น คือ กล้าที่จะลองทำลองวิจารณ์ และลองภูมิตัวเองว่าแม่นขนาดไหน พื้นฐานทางไวยากรณ์ และความจำศัพท์ต้องดีพอสมควร หลักเกณฑ์การเรียงศัพท์เข้าประโยคเป็นส่วนสำคัญที่สุด แต่ ทั้งนี้มิใช่หมายความว่าอาศัยความชานาญในหลักเกณฑ์อย่างเดียว หรือ สองอย่างก็ใช้ได้ ที่จริงต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ คือ ๑. หลักการเรียง ๒. ไวยากรณ์ ๓. สำนวน ๔. ศัพท์ ๕. การเขียน ผู้มีความชานาญในเรื่องเหล่านี้ ก็มีทางที่จะผ่านวิชานี้ได้ทุกชั้น ทุกประโยคโดยไม่ยากนัก ดังคำประพันธ์เตือนใจที่ว่า กฎเกณฑ์ใช้ได้ ไวยากรณ์แม่นยำา สำนวนถ้วนถูก ผูกศัพท์สมความ เขียนงามอ่านง่าย สอบได้ทุกปี ฯ อนึ่ง “ความจำ” เป็นสิ่งจำเป็น แต่การสอบได้มิใช่ต้องอาศัย ความจําเพียงอย่างเดียวในทุกชั้นทุกประโยคเสมอไป แต่ละบุคคลมี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More