กฎเกณฑ์การเรียงประโยค คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 87
หน้าที่ 87 / 374

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงกฎเกณฑ์การเรียงประโยคในภาษาไทย โดยเฉพาะการนำ น มาใช้กับกิริยาอาขยาตและกิริยากิตก์ รวมถึงเทคนิคการเรียงประโยคเพื่อเน้นการปฏิเสธ การจัดเรียงคำที่ถูกต้องสามารถช่วยในการสื่อสารความหมายให้ชัดเจนขึ้น เช่น ประโยคที่ต้องการเน้นความปฏิเสธเด็ดขาดว่าบุตรจะไม่บรรลุโพธิญาณและทำกาละไป นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างการใช้งานในประโยคเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย

หัวข้อประเด็น

-กฎการเรียงประโยค
-การใช้ น ในประโยค
-กิริยาอาขยาต
-กิริยากิตก์
-การปฏิเสธในประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎเกณฑ์การเรียงประโยค ๑ ๔. เมื่อมาคู่กับกิริยาอาขยาตที่ขึ้นต้นด้วย “สระ” หรือที่มีอักษร “อ” นำหน้า เช่น อกาส อโหสิ อาคาฉติ เป็นต้น นิยมสนธิกับ กิริยานั้นเลย หรือเมื่อมาคู่กับกิริยากิตก์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หากไม่แปลง เป็น อน ก็นิยมสนธิเข้าด้วยกัน เช่น : น อโหสิ เป็น นาโหสิ : : น อาคาฉติ เป็น นาคจนติ : น อาจจิต เป็น นาปุจฉ การเรียง น ศัพท์ปฏิเสธในประโยค มีข้อควรสังเกตอยู่ ๒ ประการ ซึ่งเป็นข้อสังเกตพิเศษ คือ ๑. เรียง น ที่ปฏิเสธทั้งประโยคไว้ต้นประโยค ในกรณีใด ข้อนี้ มีข้อที่พอสังเกตได้ คือ ประโยคที่ต้องการเน้นความปฏิเสธเด็ดขาด และปฏิเสธทุกศัพท์ในประโยค ทั้งนามและกิริยา อย่างนี้จึงวาง น ไว้ ต้นประโยค ดังตัวอย่างประโยคว่า : น มยุห์ ปุตโต โพธิ์ อปฺปตฺวา กาล กโรติ ฯ (๑/๑๐๘) ในประโยคนี้ น ศัพท์ อาจปฏิเสธได้ทุกศัพท์ เช่น - บุตรของผู้มิใช่เรา ไม่บรรลุโพธิญาณ ทำกาละไป ผู้มิใช่บุตรของเรา ไม่บรรลุโพธิญาณ ทำกาละไป บุตรของเรา จะไม่บรรลุสิ่งที่มิใช่โพธิญาณ ทำกาละไป บุตรของเรา ไม่บรรลุโพธิญาณ ทำกาละไป หามิได้ บุตรของเรา ไม่บรรลุโพธิญาณ ย่อมไม่ทำกาละ ไป ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More