คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 60
หน้าที่ 60 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือนี้นำเสนอวิธีการและเทคนิคในการแปลจากภาษาไทยเป็นมคธ โดยเน้นที่การใช้และการขยายบทความด้วยวิเสสนะ ซึ่งมีแบบแผนการเรียงที่ไม่ซับซ้อน โดยเริ่มจากการทำหน้าที่ขยายบทและการใช้ศัพท์วิเสสนะให้มีการลิงค์ที่เหมาะสม การแยกประเภทของวิเสสนะ เช่น สามัญและวิสามัญ รวมถึงวิธีการเรียงเพื่อให้เหมาะสมกับนามที่มีหลายศัพท์ สามารถเรียนรู้ได้จากตำราและตัวอย่างที่ให้อย่างชัดเจน

หัวข้อประเด็น

-การแปลภาษาไทยเป็นมคธ
-ศัพท์วิเสสนะ
-การขยายบทด้วยวิเสสนะ
-สามัญและวิสามัญวิเสสนะ
-วิธีการเรียงลำดับศัพท์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๔ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ นั้นเป็นวิเสสนะ ส่วนศัพท์วิเสสน สัพพนาม และศัพท์สังขยาคุณ ไม่นิยม แปล เพราะบ่งชัดว่าเป็นวิเสสนะอยู่แล้ว บทวิเสสนะนี้มีวิธีการเรียง ไม่ยุ่งยากนัก ดังนี้ ๑. ทำหน้าที่ขยายบทใด ต้องปรุงศัพท์วิเสสนะให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับบทนั้นเสมอไป ๒. สามัญวิเสสนะ คือ วิเสสนะทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นคุณนามบ้าง วิเสสนสัพพนามบ้าง เป็นศัพท์ที่ปรุงมาจาก ต อนุต มาน ปัจจัยบ้าง ให้เรียงไว้หน้าบทที่ตนขยาย เช่น - กมุมสติกขโก อากาโร อุปปชช ฯ (๑/๑๑๘) : อย์ ธมฺมเทสนา กตฺถ ภาสิตาติ ฯ (๑/๓) : คจฉานนฺท ต์ ยกขินี ปกโกสาติ ฯ (๑/๔๖) ๓. วิสามัญวิเสสนะ คือ วิเสสนะที่ไม่ทั่วไป เป็นวิเสสนะแสดง ยศ ตำแหน่ง ตระกูล หรือความพิเศษอื่นใดที่ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ให้เรียง ไว้หลังบทที่ตนขยาย เช่น : สมโณ โคตโม สกุยปุตโต สกยกุลา ปพฺพชิโต....... : วิสาขาปี มหาอุบาสิกา นิพทธ์ ทิวสสส เทว วาเร... (๑/๔) : ทิฏโฐ โข เม มหาลี สกโก เทวานมินโทติ ฯ (๒/๙๖) ๔. ถ้านามที่ตนจะขยายความมีหลายศัพท์ ให้ประกอบวิเสสนะ ให้มีลิงค์ วจนะ วิภัตติ เหมือนกับนามตัวที่อยู่ใกล้ที่สุด เช่น : สีลวตี อิตถี วา ปุริโส วา.......
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More