การวิเคราะห์และการแก้ไขประโยคในภาษาไทย คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 263
หน้าที่ 263 / 374

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายการเรียงประโยคภาษาไทย โดยใช้หลักการจากสติปัจจยตา ที่ช่วยในการพิจารณาและแก้ไขศัพท์ในประโยค เพื่อให้มีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกัน การวิเคราะห์จะรวมถึงการเลือกแก้ศัพท์อย่างเหมาะสม เช่น ไม่ควรแก้คำซ้ำจากบทตั้งเพื่อไม่ให้ฟังดูไม่สละสลวย บทแก้จะต้องใช้คำที่ต่างไปจากคำเดิมในบทตั้งเพื่อให้การแก้ไขมีความหมายใหม่ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และยกตัวอย่างการแก้ไขในบทต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนรูปศัพท์เพื่อการเข้าใจที่ดีขึ้น เช่น นิกขมมาติ เป็น นิกขมิตวา และอื่น ๆ ทำให้เห็นถึงกลไกการทำงานของภาษาและกฎการใช้งานในลักษณะดุลยพินิจ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสติปัจจยตา
-วิธีการแก้ไขประโยค
-การวิเคราะห์และการตีความหมาย
-การใช้คำนิยามและคำแทนที่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ความไทย เป็น การเรียงประโยคอธิบายความ ๒๔๗ : สองบทว่า สติปัจจยตา วฏฏติ ความว่า การได้ ความที่มีสติเครื่องพิจารณาเป็นปัจจัย ย่อมควร ฯ : สติปจฺจยตา วฏฺฏ ติ ปญฺจเวกขณสฺสติยา ปัจจยตต์ ลัทธิ์ วฏฺฏติ ฯ (มงคล ๑/๙๘) ในการแก้ค่าเช่นตัวอย่างที่ยกมานี้ มีข้อความที่ควรคำนึงอยู่บาง ประการ คือ (๑) ต้องวินิจฉัยว่า ท่านให้แก้ศัพท์ไหน ในบทตั้งที่มีหลายบท หรือให้แก้ทุกบทต้องอยู่ในดุลยพินิจ โดยสังเกตจากคำแปล เช่น ใน ประโยคว่า สีเล ปติฏฺฐาย ท่านมุ่งแก้ที่ศัพท์ ปติฏฐาย ไม่ได้มุ่งแก้ที่ สีเล เพราะฉะนั้น ไม่จำเป็นต้องแก้ทั้ง ๒ บท เป็น สีลมหิ จตฺวา ซึ่งมองดูไม่ สละสลวย เพราะ สีลมฺหิ ไม่ค่อยมีใช้ ทั้ง สีลมฺหิ และ สีเล ก็แปลอย่าง เดียวกัน แก้เป็น สีลมฺหิ แล้วก็ไม่ได้ความวิเศษขึ้น (๒) บทแก้นั้น จะต้องไม่ซ้ำกับบทตั้ง คือ ต้องใช้ศัพท์ หรือ ประกอบศัพท์ให้ต่างจากบทตั้ง จึงจะเรียกว่าแก้ หรืออธิบาย หากใช้ ศัพท์เหมือนกัน แปลกแต่รูปวิภัตติ เช่น สีลม สีเล เป็นต้นเท่านั้น เรียกว่ายังมิได้แก้ นอกเสียจาก ตวา อนุต ปัจจัย ที่ท่านใช้ในรูปอื่น แก้ให้มีรูปเป็น ตวา อนุต มาน ปัจจัยเพื่อให้ได้เห็นชัด ชื่อว่าแก้เหมือน กัน เช่น นิกขมมาติ นิกขมิตวา ฯ ภาวยนฺติ ภาวยมาโน ฯ รชนฺติ รชนฺโต ฯ วิวิจจาติ วิวิจจิตวา ฯ สมุปสฺสนฺติ สมฺปสฺสนฺโต ฯ ปิวนฺติ ปิวนฺโต ฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More