คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 128
หน้าที่ 128 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธนี้เสนอการศึกษาและอธิบายเกี่ยวกับการใช้กรณีกาลาติปัตติซึ่งหมายถึงการเล่าเรื่องในอดีตที่ไม่เป็นจริง โดยจะต้องใช้ประโยคสองประโยคที่มีเนื้อสารตรงข้ามกับความเป็นจริง เช่น ดังตัวอย่างที่กล่าวว่าถ้าคนไม่ขยันเรียนในวัยเด็ก ก็จะไม่สบายเมื่อโตขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงกันกับความเป็นจริง นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างในภาษามคธ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงหลักการและวิธีการแปลที่ถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การแปลภาษาไทยเป็นมคธ
-กาลาติปัตติ
-การพรรณนาประวัติศาสตร์
-หลักการสร้างประโยคในภาษามคธ
-ตัวอย่างการใช้งาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๑๒ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ : อห์ สตฺถิ สนฺติเก ปพฺพชิสฺสามีติ อาห์ ๆ (๑/๖) วิภัตติหมวดกาลาติปัตติ ใช้ในกรณีที่ข้อความตอนนั้นเป็นการน่าเอาเรื่องที่ล่วงเลยมาแล้ว (กาลาติปัตติ) มาเล่าใหม่หรือพรรณนาใหม่ เป็นการกล่าวเรื่องย้อนหลังใน อดีต แต่เรื่องที่เล่าหรือพรรณนานั้น มิได้เกิดขึ้นจริงๆ มิได้เป็นจริง ตามนั้น เป็นเพียงตั้งสมมติเอาว่า ถ้าเป็นอย่างนั้นคงจักเป็นอย่างนี้ เป็นต้น ขอให้ดูตัวอย่างในภาษาไทย เช่น : ถ้าเขาขยันเรียนหนังสือมาตั้งแต่เล็กๆ เขาคงสบายไปแล้ว (แสดงว่า ความจริงเมื่อเล็กๆ เขาไม่ได้ขยัน และเดี๋ยวนี้เขาก็ ไม่ได้สบาย) : ถ้าตอนนั้นข้าพเจ้ามีเงิน ข้าพเจ้าคงได้เป็นเจ้าของที่ดิน ตรงนี้แล้ว (แสดงว่า ความจริงตอนนั้นข้าพเจ้าไม่มีเงิน และเดี๋ยวนี้ข้าพเจ้า ก็มิได้เป็นเจ้าของที่ดินตรงนี้) ขอให้สังเกตว่า การยกเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่ในลักษณะเป็น กาลาติปัตตินี้ จะต้องประกอบด้วยประโยค ๒ ประโยค ประโยคแรก จะมีนิบาตปริกัป คือ ยที่ สเจ หรือ เจ อยู่ด้วย และทั้งสองประโยค จะมีเนื้อความตรงข้ามกับความเป็นจริงทั้งหมด ตัวอย่างในภาษามคธ : สเจ หิ ตุมเห มาทิสสส พุทธสฺส สมมุขีภาว นาคมิสสถ, อหินกุลา วิย เวร์ อจฺฉนฺทนาน วิย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More