คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 186
หน้าที่ 186 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับการแปลสำนวนไทยเป็นภาษามคธ โดยนักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการสังเกตศัพท์และสำนวนที่เหมาะสม การไม่คิดสร้างศัพท์ใหม่โดยไม่จำเป็น การแนะนำสำนวนไทยที่ควรทราบเพื่อการแปลที่ถูกต้อง ตัวอย่างสำนวนที่นำมาแสดงมีความหลากหลาย ซึ่งเป็นแนวทางในการเรียนรู้และเข้าใจความหมายในภาษามคธ. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การแปลสำนวนไทย
-การใช้ศัพท์มคธ
-การเรียนรู้ภาษามคธ
-การศึกษาทางด้านภาษา
-การสื่อสารด้วยภาษาโบราณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๗๐ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ แต่ท่านแปลยักเยื้องไปตามสำนวนโดยพยัญชนะบ้าง สํานวนคำพูดบ้าง เพราะฉะนั้นเมื่อนักศึกษาพบสำนวนเช่นนี้ จึงใคร่ครวญดูให้รอบคอบ ก่อนว่าตรงกับศัพท์อะไร เมื่อพบสำนวนที่ผิดสังเกตแล้ว ไม่ควรคิดว่า ศัพท์นี้เป็นศัพท์ใหม่ ต้องพยายามคิดหาจากศัพท์เก่าๆ ที่ง่ายๆ ซึ่งเคย พบเห็นมานั่นเอง ไม่ใช่คิดแต่งศัพท์ใหม่ตามสํานวนไทยอยู่เรื่อยไป ตัวอย่างเช่น สำนวนว่า ดูก่อนพวกเธอ ผู้เห็นภัย แต่งเสียใหม่ว่า ภัยทสฺสก อะไรทำนองนี้ สำนวนนิยมทั่วไป นอกจากสำนวนต่างๆ ดังกล่าวตามลำดับนั้นแล้ว สำนวนนิยม ในภาษามคธยังมีอีกจำนวนมาก ซึ่งจะยกมาแสดงพอเป็นตัวอย่าง ดัง ต่อไปนี้ สํานวนไทย สํานวนมคธ ฉันขอโทษท่าน อหนุติ ขมาเปมิ, อห์ ขมามิ ฉันจะฆ่าเธอ หมอรักษาโรค อหนฺต์ มาเรมิ เวชโช โรค ติกิจฉติ จุดไฟ อคฺคี เทติ ก่อไฟ อคฺคึ กโรติ ตามไฟ อคฺคี ชาเลต์, ทีป์ ชาเลติ ลั่นกุญแจ, ใส่กุญแจ ยนฺตก เทติ, กุญจิก เทติ ตั้งชื่อ นาม กโรติ, นาม คุณหาติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More