คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 304
หน้าที่ 304 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ นำเสนอการแปลประโยคภาษาไทยเป็นภาษามคธ โดยมีตัวอย่างการแปลที่เน้นการสร้างประโยคที่มีความหมายชัดเจน เช่น การใช้คำว่า 'จึง', 'เพราะ', และ 'ฉะนั้น' ในภาษาไทยและการเปรียบเทียบกับการใช้ในภาษามคธ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประเภทของประโยค เช่น อเนกรถประโยค, เอกรรถประโยค, และสังกรประโยค ที่ต่างกันในแต่ละภาษาเพื่อช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจการใช้ภาษาได้ดีขึ้น ทั้งนี้สามารถเรียนรู้และฝึกฝนการแปลได้จากเนื้อหานี้โดยไม่ต้องค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การแปลภาษาไทยเป็นมคธ
-การสร้างประโยคในภาษาไทยและมคธ
-อเนกรถประโยค
-เอกรถประโยค
-สังกรประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๘. คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ ไปนี้ ไทย : เธอจะทํางาน หรือจะนอนอยู่ตรงนี้กันแน่ มคธ : ก็ ตัว กมฺมนฺต์ กาตุกาโม, อุทาห อิธ นิปชฺชิตฺกาโม ฯ ไทย : พระภิกษุรูปนั้นใช่ท่านสุนทโรหรือไม่ มคธ : กี โส สุนฺทโร นาม ภิกขุ โหติ, โน วา ๆ ๔. เหตวาเนกรรถประโยค คือ อเนกรรถประโยคที่มีเนื้อความท่อนหนึ่งเป็นเหตุ อีกท่อน หนึ่งเป็นผล มีสันธานว่า จึง เพราะ จึง ฉะนั้น จึง เพราะฉะนั้น จึง เป็นบทเชื่อม เช่น - เขาเป็นคนดี คนจึงสงสารเขามากในคราวนี้ เพราะ สามเณรสอบไล่ได้ จึงมีญาติโยมนำสักการะมามุทิตา เพราะพระเถระไปในที่นั้น ฉะนั้น เหตุการณ์จึงสงบลงได้ ด้วยดี ในเหตวาเนกรรถประโยคในภาษาไทยนี้มีข้อแตกต่างจากภาษา มคธอยู่ คือเนื้อความในประโยคภาษาไทยดังตัวอย่างข้างต้น จัดเป็น อเนกรรถประโยคในภาษาไทย แต่ในภาษามคธเนื้อความแบบนี้จัดเป็น เอกรรถประโยคก็ได้ เป็นสังกรประโยคก็ได้ กล่าวคือถ้าแต่งคำว่า “เพราะ เพราะ จึง” เป็นต้น ด้วยศัพท์ที่ประกอบด้วย โต ตฺต ตา ปัจจัย หรือ ภาว คัพท์ไว้ในประโยค ประโยคนั้นก็เป็นเพียงเอกรรถประโยคธรรมดา แต่ถ้าแต่งเป็นประโยค ย ต รับกันสองประโยค ก็เป็นสังกรประโยค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More