ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๓๔ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙
เรียงศัพท์ผิดที่ คือแทนที่จะเรียงไว้หน้าบทที่ตนขยาย กลับไป
เรียงไว้หลังหรือเรียงไว้หน้าบทอื่น ซึ่งส่อให้เห็นว่าอาจมีความหมายเข้า
กับบทนั้นก็ได้ เช่น
: พระเถระนั้น พาภิกษุทั้งหลายไปที่นั้น แล้วคิดว่า.....
: โส เถโร ภิกขู อาทาย ตตฺถ คนฺตฺวา จินฺเตสิ ฯเปฯ
(ถูก)
โส เถโร ตตฺถ ภิกขู อาทาย คนฺตวา จินฺเตสิ ฯเปฯ
(ผิด)
ดังนี้ก็ดี ใช้ประธานกับกิริยาต่างบุรุษกัน เช่น อห์ อาราม
คมิสสติ เป็นต้นก็ดี ทั้งหมดนี้ เรียกว่า ผิดสัมพันธ์
ใช้วาจกผิดก็ดี สับประโยคเลขนอก เลขในกัน คือ นำความใน
เลขในมาแต่งเป็นเลขนอก น่าความในเลขนอกไปใส่ปนกันกับเลขในก็ดี
ผิดศัพท์หรือผิดสัมพันธ์มากแห่งในประโยคเดียวกัน จนไม่เป็นรูปประโยค
จนจับใจความไม่ได้ก็ดี ดังนี้ เรียกว่า ผิดประโยค
เพราะฉะนั้น ในเรื่องสัมพันธ์ จึงมีข้อที่ควรคำนึง ดังนี้
(๑) วางศัพท์ทุกศัพท์ในประโยคให้ถูกตำแหน่งตามหลักการเรียง
อย่างเคร่งครัด เมื่อวางทุกศัพท์เข้าประโยคแล้ว ทดลองแปลและสัมพันธ์
ตามรูปที่วางไว้นั้นดู อย่าสัมพันธ์ข้ามโดดไปโดดมา
(๒) ทุกๆ ประโยคต้องมีศัพท์ที่เป็นประธาน หรือเป็นกิริยาอย่างใด
อย่างหนึ่ง หรือทั้งสองอย่างวางไว้ให้ปรากฏ เพื่อความสะดวกในการ
แปล จะไม่วางไว้เลยไม่ได้ ถือว่าผิด เพราะผู้แปลไม่อาจหาตัวประธานได้
หรือกิริยาที่บ่งตัวประธานไม่ได้ เช่น อาคโต ปพฺพชิโต ดังนี้
ต้อง