คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 110
หน้าที่ 110 / 374

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการแปลไทยเป็นมคธ โดยเน้นถึงความสำคัญของการใช้ไวยากรณ์และการสร้างความสัมพันธ์ในประโยคอย่างถูกต้อง ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการปรับใช้ศัพท์ต่างๆ ตามหลักที่จะทำให้การสื่อสารชัดเจน โดยมีการรวบรวมข้อผิดพลาดที่นักเรียนมักทำในการเรียนการสอน และสรุปเป็นหัวข้อที่สำคัญเช่น เรื่องลิงค์, วจนะ, วิภัตติ, กาล, ปัจจัย, และอื่นๆ เพื่อช่วยให้นักศึกษาไม่เสียคะแนนจากข้อผิดพลาดดังกล่าว

หัวข้อประเด็น

- เรื่องลิงค์
- เรื่องวจนะ
- เรื่องวิภัตติ
- เรื่องกาล
- เรื่องวาจก
- เรื่องปัจจัย
- เรื่องสัมพันธ์
- เรื่องการเขียน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๙๔ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ กาล บท วจนะ บุรุษ ธาตุ วาจก ปัจจัย ครบทั้ง ๔ ประการ พูดอีกทีก็คือว่า ต้องให้ศัพท์นั้นๆ ผ่านโรงงานเข้าเครื่องปรุงเสีย ก่อน จึงค่อยน่าออกมาใช้นั่นเอง และเข้าโรงงานไหนมาก็ต้องให้ถูกแบบ แผนของโรงงานนั้น เช่น โรงงานนาม โรงงานอาขยาต ก็ให้ถูกกฎเกณฑ์ ดังกล่าวมาแล้ว แม้เรื่องสัมพันธ์ก็สำคัญไม่น้อย ศัพท์ที่ถูกปรุงได้ถูกต้องตาม หลักไวยากรณ์ดีแล้ว แต่น่าไปวางในประโยคผิดที่ ทําให้ผิดหลักสัมพันธ์ ไป หรือวางถูกที่เหมือนกัน แต่ผิดไวยากรณ์เสียอีก ทำให้สัมพันธ์เข้า กันไม่ได้ เช่นนี้ถือว่าผิดทั้งนั้น รวมความว่าทั้งไวยากรณ์และสัมพันธ์ ต้องให้เป็นไปถูกต้องคู่กันไปเสมอ ต่อไปนี้จะได้แสดงกฎเกณฑ์การใช้ไวยากรณ์และสัมพันธ์ที่ ปรากฏว่า นักศึกษาชอบใช้ผิดและทำให้เสียคะแนนบ่อยๆ บางครั้งถูก ปรับถึงตก เพราะผิดไวยากรณ์และสัมพันธ์ในที่ไม่ควรผิดก็มี ซึ่งพอ สรุปแยกกล่าวเป็นหัวข้อๆ ได้ดังนี้ ๑. เรื่องลิงค์ ๕. เรื่องวาจก ๒. เรื่องวจนะ ๓. เรื่องวิภัตติ ๔. เรื่องกาล ๖. เรื่องปัจจัย ๗. เรื่องสัมพันธ์ ๘. เรื่องการเขียน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More