ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๒๐ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙
: ภนฺเต อห์ ปุพเพ สามเณโร, อิทานิ
ปนมติ คินี ชาโต, ปพฺพชนโตปิจาห์ น
สทฺธาย ปพฺพชิโต, มคฺคปริปนกาเยน
ปพฺพชิโต ฯเปฯ (๑/๑๕)
(ชาโต แสดงว่า การเป็นคฤหัสถ์นั้น เกิดแล้ว เป็นแล้ว อมหิ แสดง
ว่าการกลับเป็นคฤหัสถ์ยังดำรงอยู่ แต่ ปพฺพชิโต ท่านไม่ใส่ อมฺหิ เข้า
มากำกับ เพราะขณะนั้น ผู้พูดมิใช่นักบวชแล้ว การบวชเป็นอดีตไป
แล้ว ไม่ได้คงอยู่ในขณะนั้น ท่านจึงไม่ใส่ เป็นว่า ปพฺพชิโตมหิ ถ้า
แต่งหรือแปล เป็น ปพฺพชิโตมหิ ก็จะกลายเป็นว่าบวชแล้ว และยังเป็น
นักบวชอยู่ ซึ่งก็ย่อมผิดความจริง ดังนั้น ทั้งแต่งและแปลจึงไม่ต้องใส่
อมริ เข้ามาคุมอีกในประโยคนี้
พึงดูประโยคต่อไปนี้เทียบเคียง
: กุโต อาคโตสิ ๆ (๑/๑๑๔)
: ตสฺมี ขเณ มฏฐกุณฑลี อนุโตเคหาภิมุโข นิปนฺโน
โหติ ฯ (๑/๒๕)
(๕) ต ปัจจัย มาคู่กับกิริยาอาขยาตหมวดสัตตมีวิภัตติ (ต +
สัตตมี) ใช้กับเนื้อความที่ผู้พูด หรือผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นมี
อย่างนั้นจริงหรือไม่ เป็นเพียงคาดคะเนเอาเท่านั้น ซึ่งการคาดคะเน
นั้นอาจไม่เกิดขึ้นอย่างนั้นก็ได้ ลักษณะภาษามคธเช่นนี้ ตรงกับภาษา
ไทยว่า “คงจะ, น่าจะ” นั่นเอง เช่น
: ต์ กมุม เป็น กต ภูเวย์ ฯ