ข้อความต้นฉบับในหน้า
กฎเกณฑ์การเรียงประโยค ๕๗
ลักษณะที่ ๓
เชฏโฐ เชฏโฐ ว หุตวา กนิฏโฐ กนิฏโฐ ว หุตวา
ปฏิสนธิ คุณสุ ฯ (๔/๑๖๐)
ลักษณะกิริยาปธานนัยอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งแปลกจากลักษณะทั้ง
สองข้างต้น คือตอนแรกประธานทำกิริยาร่วมกันมา และหยุดลง ตอน
หลัง ประธานเหล่านั้นต่างก็แยกไปทำกิริยาของตนต่างหาก แต่ไม่ได้
กลับมาทํากิริยาร่วมกัน เหมือนลักษณะที่ ๒ ประโยคสิ้นสุดลงตรง
กิริยาของใครของมัน เหมือนในลักษณะที่ แต่แทนที่กิริยาปธานนัย
จะอยู่ตรงกิริยาสุดท้ายก่อนแยกกันเหมือนในลักษณะที่ ๑ กลับเป็นตัว
กิริยาสุดท้ายของประธานที่แยกตัวออกมาแต่ละตัวเหมือนในลักษณะที่ ๒
ลักษณะที่ ๓ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความฉงนอยู่ พบตัวอย่างมีอยู่ใน
เรื่อง อุโปสถกมุม ภาค ๕ ดังนี้
୭
୭
: วิสาเข อิเมล์ สตฺตานํ ชาติอาทโย นาม
ทณฺฑหตุถโคปาลกสทิสา, ชาติ ชราย สนฺติก
เปเสตวา, ชรา พยาธิโน สนฺติก, ฯเปฯ (๕/๕๔)
เรื่องกิริยาปธานนัยนี้ นักศึกษาพึงทําความเข้าใจให้ดีเป็นพิเศษ
เพราะเป็นกิริยาพิเศษมีไม่มากนัก แต่ควรได้ศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่ออรรถรส
ของภาษา
หากมีความสังสัยว่าจะทราบได้อย่างไรว่า ประโยคไหนเป็น
ประโยคกิริยาปธานนัย มีหลักสังเกตอยู่ ๒ ประการ คือ