ข้อความต้นฉบับในหน้า
90 คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙
อนุนปานเภสัชเชส โย ย์ อิจฺฉติ, ตสฺส ต์ ยกิจฉิตเมว
สมฺปชฺชติ ๆ (๑/๔)
โย ธมฺม ปสฺสติ, โส ม ปสฺสติ ฯ
ยเถว ตุมเห ต น ปสฺสถ, ตถา โสปิ เต ปาเณ
น ปสฺสติ ๆ (๑/๑๙)
จึงพอสรุปได้ว่า ประโยคคำพูดนั้นอาจสั้นหรือยาวก็ได้ อาจง่ายๆ
หรือสลับซับซ้อนก็ได้ ทั้งนี้ก็แล้วแต่เนื้อความในตอนนั้นๆ แต่จะอย่างไร
ก็ตาม ก็จะต้องนับเข้าในประโยคชนิดใดชนิดหนึ่งตามที่กล่าวแล้วทั้งสิ้น
หานอกเหนือไปจากนี้ไม่
ยังมีประโยคอีก ๒ ชนิด ที่มีใช้อยู่เป็นประโยคพิเศษที่มีเนื้อความ
ไม่สมบูรณ์ในตัว แต่คอยแทรกอยู่ในประโยคใหญ่เพื่อให้ประโยคใหญ่มี
เนื้อความสมบูรณ์ขึ้น ประโยคทั้งสองนั้นคือ ประโยคอนาทร กับ
ประโยคลักขณะ แต่ ๒ ประโยคนี้มีข้อยุ่งยากไม่มากนัก จะยกกล่าวทีหลัง
โดยเฉพาะ
โครงสร้างของประโยค
ก่อนที่จะเรียนรู้วิธีการเรียงศัพท์เข้าประโยค เพื่อให้ได้เนื้อความ
และถูกต้องตามหลัก จำเป็นที่จะต้องศึกษาโครงสร้างของประโยคก่อน
เพื่อจะได้ทราบว่าในแต่ละประโยคนั้นประกอบด้วยโครงสร้างอย่างไร
และควรวางส่วนประกอบนั้นๆ ไว้ที่ไหน เป็นต้น เมื่อศึกษาข้อนี้ได้ดีแล้ว
ก็จะเป็นการสะดวกที่จะศึกษาขั้นต่อไป