ข้อความต้นฉบับในหน้า
๓๑๘ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙
ตามตัวอย่างข้างต้น ท่านปรุงประโยคใหม่ด้วยการตีความ
แล้วตัดความ โดยหลีกเลี่ยงการใช้ “อิติ” ในประโยคหากแต่งเป็นประโยค
“อิติ” ตามสำนวนไทย เช่น แต่งว่า เตเนว ภควา “นโร .....อิเมหิ
จตุหิ ธมฺเมหิ อตฺตโน อตฺตโน นิวาสภูตคามาที่สงขาติ ที
อภิปาเลยยาติ พุทธปริสาย โอวาทานุสาสนี้ อทาส ฯ ย่อมเป็นการ
แสดงว่าข้อความใน “อิติ” ทั้งหมดเป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้าจริงๆ
ข้อนี้ขอให้นักศึกษาพึงทำความเข้าใจให้ดีเถิด จะเข้าถึงความนิยมทาง
ภาษาได้อย่างแจ่มแจ้ง
กล่าวโดยสรุปว่า ประโยคที่เป็นพระพุทธพจน์นั้น หากไม่แน่ใจ
หรือจําพระพุทธพจน์ไม่ได้ ก็ไม่ควรปรุงประโยคเป็นรูปมี “อิติ” หรือ
ที่วงการบาลีเรียกว่า ประโยคเลขนอกเลขใน ควรตีความและตัดแต่ง
ความเสียใหม่แล้วปรุงให้มีรูปประโยคตามปกติ โดยที่เนื้อความไม่เสีย
ไปมากนัก อันนี้ก็อยู่ที่ความฉลาดสามารถในการตีความและตัดความ
สําคัญ
ประโยคแบบ
ประโยคแบบ คือ ประโยคที่ท่านปรุงรูปประโยคไว้คงที่ ไม่
เปลี่ยนแปลงยักเยื้องไปต่างๆ เหมือนรูปประโยคอื่นๆ ถือว่าเป็นความ
นิยมทางภาษาไปโดยปริยาย เมื่อพบที่ไหนก็จะมีรูปอย่างนั้น ประโยค
แบบดังกล่าวนี้ มีไม่มากนัก ขอให้นักศึกษาจ่ารูปประโยคไว้ให้แม่นยำ
เพื่อสะดวกในการปรุงประโยค ไม่ต้องเสียเวลาไปคิดใหม่ เมื่อสำนวน