กฎเกณฑ์การเรียงประโยคและการใช้นิบาตต้นข้อความ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 95
หน้าที่ 95 / 374

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับกฎเกณฑ์การเรียงประโยคและการใช้นิบาตต้นข้อความในประโยค ย ต โดยเน้นถึงข้อผิดพลาดในการใช้นิบาตซ้ำซ้อนกันในประโยคเดียว การใช้นิบาตซ้ำซ้อนถือว่าผิดความนิยมทางภาษา และมีตัวอย่างประกอบการใช้ที่ไม่ถูกต้องและถูกต้อง การเรียนรู้เกี่ยวกับนิบาตและการจัดเรียงประโยคจะช่วยให้สามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและหลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนที่ไม่จำเป็น

หัวข้อประเด็น

-หลักการเรียงประโยค
-การใช้นิบาตต้นข้อความ
-ความนิยมทางภาษา
-ตัวอย่างการใช้ประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎเกณฑ์การเรียงประโยค ๓๙ การใช้นิบาตต้นข้อความ ในประโยค ย ต ปกติการใช้นิบาตต้นข้อความต่างชนิด เช่น หิ จ ปน อถ อถโข มีหลักที่แน่นอนตายตัวอยู่แล้ว ไม่จำต้องกล่าวถึงโดยละเอียด อีก แต่ที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ การใช้นิบาตต้นข้อความซ้ำซ้อนกันใน ประโยคเดียวกันและในประโยค ย ต ซึ่งถือว่าเป็นประโยคเดียวกัน การใช้นิบาตอย่างนี้ถือว่าผิดความนิยมทางภาษา และดูซ้ำซ้อนรุงรัง เกินความจําเป็น ขอให้ดูตัวอย่างประกอบ กรณีที่ 9 ใช้นิบาตต้นข้อความซ้ำซ้อนในประโยคเดียวกัน ୭ : อถาปรภาเค ปน โส ภิกขุ นว์ จีวร สภิตวา วิหาร ปูนาคม ฯ ตามตัวอย่างนี้ มีนิบาตต้นข้อความซ้ำซ้อนกันอยู่ คือ อถ กับ ปน ซึ่งถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะมีศัพท์อื่นคือ อปรภาเค คั่นอยู่ ในกรณีที่ใช้นิบาตต้นข้อความซ้ำซ้อนกันได้นั้นก็มีอยู่ แต่ต้องเรียง ติดกัน ๒ ศัพท์ โดยไม่มีศัพท์อื่นคั่น ตัวอย่างเช่น : ตถา หิ โส มหาราชา วุตตปปกาเรหิ มหาชนาน อภิปูชนีโย นาม ๆ : เอวญจ ปน กตฺวา โส ปุริโส ต์ เถร อุปาคม ฯ กรณีที่ ๒ การใช้นิบาตต้นข้อความในประโยค ย ต ประโยค ย ต โดยเนื้อความเราถือกันว่าเป็นประโยคเดียวกัน เรียกว่าสังกรประโยค เพราะฉะนั้น เมื่อวางนิบาตต้นข้อความไว้ใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More