หลักการแปลไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 21
หน้าที่ 21 / 374

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของการเข้าใจหลักการแปลจากภาษาไทยเป็นมคธ โดยชี้ให้เห็นว่ายิ่งเข้าใจมากเท่าไร ความจำก็กลายเป็นสิ่งรองที่สามารถช่วยในการสอบและเข้าใจเนื้อหาได้อย่างถูกต้อง มคธเป็นภาษาที่มีหลักเกณฑ์ตายตัว จึงการศึกษาจึงมีความสำคัญ นักเรียนต้องเข้าใจบทเรียนในลำดับขั้น ตั้งแต่แนวทางง่ายๆ จนถึงหลักเกณฑ์ที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้นักเรียนสามารถพัฒนาทักษะการแปลและเลื่อนระดับการเรียนได้ในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

-หลักการแปล
-ความสำคัญของการเข้าใจ
-การพัฒนาทักษะการแปล
-การศึกษาและการสอบ
-แนวทางการเรียนรู้มคธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักการแปลไทยเป็นมคธ สมรรถนะในการจําไม่เท่ากัน ท่านผู้ใดจำได้ทุกตอนเหมือนแบบโดยไม่ ผิดเพี้ยน อันนี้ก็ยกให้เฉพาะท่านผู้นั้น แต่ใครเล่าจะจำได้หมดสิ้นทุกบท ทุกตอน และทุกเล่ม เมื่อเป็นดังนี้ ความเข้าใจจึงเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรก ความจำ เป็นรอง เมื่อเข้าใจเสียแล้ว แม้จะลืมไปบ้างก็ยังพอใช้ความเข้าใจนั้นๆ เอาตัวรอดได้ การทํา “ถูกแบบ” อาจมีได้ในบางชั้นบางประโยค แต่การทำ “ถูกหลัก” สามารถช่วยให้สอบได้ทุกชั้นทุกประโยค เพราะฉะนั้น ขอนักศึกษาได้ศึกษาวิชานี้ให้เข้าใจผสมกับความ จ๋า อันเป็นพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว โดยเฉพาะเรื่องต่างๆ ทั้งห้าเรื่องนั้นต้อง เชี่ยวชาญพอสมควร แม้จะไม่ถึงขั้นเก่ง แต่ก็พอจะช่วยให้สอบเลื่อน ชั้นขึ้นเรื่อยๆ จนจบประโยค ป.ธ. ๙ ได้อยู่ ความจําเป็นในการศึกษาหลักเกณฑ์ต่างๆ ในวิชานี้ ก็เพื่อเป็น กุญแจไขความละเอียดอ่อนของภาษาให้เปิดเผยออกมา เพื่อให้สิ่งที่ยาก เป็นสิ่งที่ง่าย ให้สิ่งที่ลี้ลับเป็นสิ่งที่เปิดเผย เพราะภาษานี้เป็น “ภาษา ตายแล้ว” คือเป็นภาษาที่มีหลักเกณฑ์ตายตัว มีความแน่นอน มีความ หมายไม่ดิ้นภาษาหนึ่งในโลก ถ้าไม่เข้าใจหลักเกณฑ์ของภาษานี้แล้ว ก็ หาเข้าถึงภาษา ได้ง่ายไม่ การศึกษาวิชาแปลไทยเป็นมคธที่จะว่าต่อไปนี้ จะว่าไปตาม ลำาดับเป็นตอนๆ โดยแบ่งเป็นบทๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาจากหลัก เกณฑ์ง่ายๆ เบื้องต้นไปตามลำดับ จนถึงหลักเกณฑ์ใหญ่ๆ ทั่วไป ใน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More