คู่มือการแปลไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 104
หน้าที่ 104 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดเรียงกิริยาในประโยคและการเลือกใช้คำในบริบทต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ศึกษาหรือสนใจในภาษา มคธ โดยมุ่งเน้นที่การวิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ในการแปล ความสำคัญของการจัดเรียงกิริยาที่ถูกต้องนั้นสามารถทำให้ความหมายชัดเจนและเข้าใจง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงการใส่คำที่สำคัญในการแปลที่อาจไม่ได้แสดงอยู่ในต้นฉบับ แต่มีความจำเป็นในบริบทของการแปล การเรียนรู้แนวทางนี้จึงช่วยเสริมทักษะการแปลและการเข้าใจในข่าวสารได้ดียิ่งขึ้น สำหรับผู้ที่ศึกษาภาษานี้ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่จัดทำขึ้นนี้เพื่อให้การแปลเป็นไปอย่างราบรื่น

หัวข้อประเด็น

-การจัดเรียงกิริยา
-การแปลภาษา
-ข้อควรสังเกตในการแปล
-การใช้ศัพท์ในบริบทต่าง ๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๔๐๐ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ ไปตามลำดับเหมือนความไทยไม่ได้ แม้เข้ากับกิริยา อนุต มาน ปัจจัย ก็พึ่งเทียบเคียงนัยนี้ ๓.๔ ถ้าขยายกิริยาคุมพากย์ จะเรียงกิริยานั้นไว้หน้าหรือ หลัง อิติ ก็ได้ แต่มีข้อสังเกตอยู่ว่า ในประโยคที่มีข้อความเลขในสั้นๆ นิยมเรียงกิริยาไว้หลัง ในประโยคที่มีข้อความเลขในยาว นิยมเรียง กิริยาไว้ข้างหน้า อิติ เพื่อให้สังเกตกิริยาได้ง่าย เช่น : ต์ สุตฺวา มหาปาโล กุฎมพิโก จินฺเตสิ “ปรโลก คจฉนต์ ปุตตรีตโร วา โภคา วา นานุคจฉนฺติ ฯเปฯ ปพฺพชิสฺสามีติ ฯ (๑/๖) : อถ น สตฺถา “นตฺถิ เต โกจิ อาปุจฉิตพฺพยุตฺตโก ญาตีติ อาห์ ๆ (๑/๖) อนึ่ง ขอให้สังเกตว่าศัพท์นาม หรือศัพท์กิริยาที่ทําหน้าที่คุม อิติ นี้แม้จะมีคําแปลในภาษาไทย บางครั้งก็ไม่จําเป็นต้องใส่เข้ามาใน เวลาแต่งเป็นมคธ แต่เวลาแปลจะต้องใส่เข้ามาเอง เรื่องนี้ผู้ศึกษาต้อง สังเกตให้ดี เพราะฉะนั้นเวลาเรียงขอให้ดูความในประโยค หากไม่ใส่นามหรือ กิริยาเข้ามาคุม ผู้แปลก็พอมองออกว่าต้องใส่ศัพท์ใดเข้ามา เช่น ใส่ จินตเนน วจเนน ปุจฺฉิ อาห เป็นต้น เช่นนี้จะไม่ใส่ก็ไม่ผิด แม้ใน แบบจะมีใส่ไว้ก็ตาม หรือในแบบเขาไม่มี เราไปเพิ่มเข้ามาก็ไม่ถือว่าผิด แต่บางกรณีใส่ไปก็ทำให้ประโยครุงรัง เช่นในประโยคโต้ตอบ สนทนากัน เป็นต้น ซึ่งไม่นิยมใส่กิริยาคุม อิติ ที่ท่านใส่ไว้โดยมากเป็น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More