แนวทางการแปลไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 370
หน้าที่ 370 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธนี้มีแนวทางในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการร่างความคิดและทบทวนความถูกต้องของเนื้อหาอย่างรอบคอบ ควรมีการตรวจสอบทั้งประโยคและไวยากรณ์เพื่อทำให้ผลงานที่ส่งให้ออกมาเป็นที่น่าพอใจที่สุด เน้นความสำคัญของการใช้ศัพท์ที่ถูกต้องตามหลักการและการตรวจสอบข้อบกพร่อง เพื่อให้ได้ผลงานที่ถูกต้องที่สุด. สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเยี่ยมชมที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- แนวทางการร่างงาน
- การตรวจสอบและแก้ไข
- ความสำคัญของการใช้ภาษา
- หลักไวยากรณ์ในการแปล
- เทคนิคการคิดอย่างสร้างสรรค์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๕๔ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ ไปทำตอนต่อไปก่อน โดยเว้นตรงที่ติดนั้นไว้ ทำเสร็จแล้วจึงค่อยกลับ มาคิดใหม่ ถ้ายังคิดไม่ออก ก็ให้เขียนในใบตอบจริงไปก่อน เว้น ว่าง สําหรับเติมที่ยังคิดไม่ออกไว้พอสมควร ถ้าไม่ทําดังนี้จะทําให้ตกเวลา น่าเสียดาย ๔. เมื่อร่างเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ให้หยุดพักสมองสักระยะ หนึ่งจะออกไปทำธุระหนัก เบา หรือนั่งอยู่กับที่ ก็ได้ - ๑๐. เมื่อได้พักพอควรแล้ว ให้ตรวจดูร่างที่ทำเสร็จแล้ว โดย ตรวจดูว่าทำเกินปัญหาสนามหลวง ซึ่งบางทีท่านตัดทอน ออกหรือไม่ ตรวจดูว่าทําครบทุกบรรทัด ทุกประโยคหรือไม่ ตรวจดูประธาน กิริยาในระหว่าง กิริยาคุมพากย์ ว่าเป็น วจนะ เป็นบุรุษเดียวกันหรือไม่ ตรวจดูหลักไวยากรณ์ หลักสัมพันธ์ และหลักการเรียง ว่าถูกต้องดีหรือไม่ ตรวจดูว่า ศัพท์ที่ใช้ถูกต้องตามสํานวนหรือไม่ ๑๑. เมื่อตรวจดูแล้ว พบข้อบกพร่องข้อใดให้รีบแก้ไขทันที แต่อย่าลืมว่า “ความคิดครั้งแรกย่อมดีกว่า และถูกต้องกว่าความคิด ครั้งหลังเสมอ" เพราะฉะนั้น หากคิดแก้ไขประโยคใหม่ หรือใช้ศัพท์ ใหม่ ต้องพิจารณาให้รอบคอบเป็นพิเศษ เพราะปรากฏว่าที่ทำครั้ง แรกไว้นั้นถูกต้องแล้ว แต่แก้ใหม่กลายเป็นผิดไป ดังนี้ก็มี ๑๒. เมื่อตรวจร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ลงมือเขียนในกระดาษ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More