ข้อความต้นฉบับในหน้า
การเรียงประโยคอธิบายความ ๒๕๕
เป็นต้น
(๓) ในกรณีที่มีการเปรียบเทียบเป็นประโยคอุปมาอุปไมยซึ่งมี
สำนวนไทยว่า “เปรียบเหมือน, เหมือน, ดังเช่น, เปรียบดัง”
มีข้อความที่ควรศึกษาและคำนึงถึงหลายประการ เช่น
๓.๑ จะใช้ศัพท์อะไรให้ตรงกับสำนวนไทยนั้น ในบรรดาศัพท์
เหล่านี้ คือ อิว วิย ยถา ยถา ยถา-ตถา เสยฺยถาปิ
๓.๒ ต้องเข้าใจความหมายในประโยคว่า เป็นการเปรียบ
เทียบอะไร เปรียบทำนองไหน เปรียบกับบทไหนใน
ประโยค
๓.๓ ต้องประกอบกับศัพท์อย่างไร แล้ววางไว้ตรงไหนใน
ประโยค
๓.๔ จะต้องใส่ศัพท์เต็มประโยคหรือควรละศัพท์ใดไว้ ไม่
ต้องใส่เข้าไป แต่สามารถรู้ได้ว่าได้ละศัพท์ใดไว้
ในปกรณ์ทั้งหลาย ที่มีการเปรียบเทียบเช่นนี้ ท่านมีวิธีใช้ศัพท์และ
วางศัพท์ไม่แน่นอนตายตัวว่าจะต้องเป็นศัพท์นี้เท่านั้น หรือจะต้องวางไว้
ตรงนั้นเท่านั้น ใช้อย่างอื่นเป็นผิด แต่เมื่อท่านใช้ไว้แล้ว ก็สามารถรู้
ความหมายได้ทันที ดังนั้น จึงไม่อาจวางกฎระเบียบที่ตายตัวลงไปได้ใน
เรื่องนี้ แต่ก็พอชี้แจงเป็นแนวทางได้ ดังต่อไปนี้
๑. ในประโยคเดินเรื่องหรืออธิบายความธรรมดา ถ้ามีการเปรียบ
เทียบในระหว่างประโยค และศัพท์ที่เปรียบนั้น มีลักษณะเป็นวิเสสนะ
ของบทประธานในประโยคนั่นเอง มิได้เป็นศัพท์นามที่เป็นตัวประธานใหม่
ลักษณะเช่นนี้พึงปฏิบัติดังนี้