ข้อความต้นฉบับในหน้า
:
ไวยากรณ์และสัมพันธ์ ๑๒๓
(แสดงว่า ทางไกลนั้นผู้เดินทางจะต้องถาม ถ้าไม่ถาม
จะทำให้หลง และทำให้เกิดความเสียหายได้)
ตกเหว ตโยชนมคค์ คนตกามสฺส ปุริสสส อนุตรา
มคเค รุกฺขป พฤตฬากาที่สุ วิลมพมานสุส มคฺโค
ปริกขย์ น คจฉา, ทวีหวีเหน ปริโยสาเปตพฺโพ
โหติ ฯ
(แสดงว่า จะเดินทางในวันเดียว ๓ โยชน์ ถ้ามัวโอ้เอ้
อยู่ จะต้องใช้เวลาถึง ๒ - ๓ วัน กว่าจะสิ้นสุดการ
เดินทาง ทำให้เสียเวลา)
เรื่องกาลเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นเรื่องซับซ้อน ดังแสดงมา
ฉะนี้ จึงสมควรที่จะได้ทําความเข้าใจให้ลึกซึ้ง และเข้าให้ถึงอรรถรสจริงๆ
จึงจะสามารถใช้กาลได้ถูกต้อง เมื่อแต่งไปแล้วย่อมได้ใจความถูกต้อง
ชัดเจน หากใช้ผิดกาลเสียตอนใดตอนหนึ่ง นอกจากจะทำให้เสียรส
ภาษาแล้ว ยังอาจผิดที่ประสงค์ เป็นเหตุให้เสียคะแนนได้เหมือนกัน
เรื่องวาจก
ข้อความหรือคำพูดต่างๆ จะรู้กันได้ชัดเจนว่า หมายความว่า
อย่างไรต้องอาศัย “วาจก” เป็นหลักใหญ่ การประกอบศัพท์ขึ้นเป็น
วาจกหรือเป็นประโยคจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก หากประกอบศัพท์ผิดวาจก
หรือใช้วาจกผิดแล้ว จะทำให้ไม่รู้ความหมายของข้อความหรือคำพูดนั้นๆ
หรือทําให้ความหมายผิดวัตถุประสงค์ไปเลย