หลักการแต่งไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 297
หน้าที่ 297 / 374

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เป็นการอธิบายหลักการแต่งประโยคและวลีในภาษาไทย โดยยกตัวอย่างการใช้คำในรูปแบบต่างๆ เช่น บทประธาน บทกรรม และบทกิริยา รวมถึงการสร้างวลีเพื่อให้เข้าใจความหมาย โดยเฉพาะการเรียนภาษามคธที่มีความสำคัญในศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-หลักการแต่งไทย
-ประโยคและวลี
-การเรียนรู้การใช้ภาษา
-บทประธาน บทกรรม บทกิริยา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ ๒๕๑ ใช้ประโยค : พระอยู่ในวัด เรียนหนังสือกัน : วัดทรุดโทรมมาก ได้รับการบูรณะใหม่แล้ว ข้อความที่เป็นตัวเน้นดำในประโยคต่างๆ ข้างต้นเรียกว่าบท ได้ทั้งสิ้น แสดงไว้เป็นตัวอย่างเท่านั้น แม้บทขยายประธาน บทกิริยา บทขยายกิริยา เป็นต้น ก็มีทั้งคำ วลี และประโยคเช่นเดียวกัน วลี วลี คือกลุ่มคำ หรือความที่เรียงติดต่อกัน มีความหมายพอ เข้าใจกันได้ แต่ยังไม่ได้ใจความสมบูรณ์ กลุ่มคำที่เป็นวลีนี้ประกอบ ด้วยคำอย่างน้อย ๒ คำ วลีนี้จะได้ใจความสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อได้เข้าไป เป็นส่วนหนึ่งของประโยคแล้ว อาจเป็นส่วนที่เป็นบทประธาน บทกิริยา บทกรรม หรือบทขยาย ในประโยคนั้นก็ได้ เช่น บทประธาน : การเรียนภาษามคธ เป็นสิ่งจำเป็นไม่น้อย บทกรรม : พระภิกษุสามเณรทำงานที่เป็นประโยชน์ แก่วัด บทกิริยา : งานนี้เขาทำอย่างเสียไม่ได้ บทขยาย : ท่านนั่งสมาธิอยู่ที่ป่าข้างวัด : ตามตัวอย่างข้างต้น คำว่า “การเรียนภาษามคธ” “ทำงานที่ เป็นประโยชน์แก่วัด” “ทำอย่างเสียไม่ได้” และ “ที่ป่าข้างวัด” นั่น แหละคือวลีในที่นี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More