หลักการแต่งไทยเป็นมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 349
หน้าที่ 349 / 374

สรุปเนื้อหา

หลักการแต่งไทยในมคธ ป.ธ.๙ ๓๓๓ เน้นการแยกประโยคให้ชัดเจน โดยเข้าใจในสังกรประโยคและความสัมพันธ์ระหว่างประโยคย่อยและประโยคใหญ่ นักเรียนควรทบทวนเพื่อสามารถตีความและปรุงแต่งประโยคได้ถูกต้อง จะช่วยในการศึกษาและเขียนเนื้อหาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีที่สำนวนยาวและซับซ้อน จำเป็นต้องใช้หลักการการแต่งประโยคให้กระชับและเข้าใจได้ดี.

หัวข้อประเด็น

-หลักการแต่งประโยค
-สังกรประโยค
-ประโยค ย ต
-การตีความประโยค
-การขยายความในเนื้อหา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ ๓๓๓ แต่ก็เป็นไปในลักษณะตามแบบคือเข้าใจและจำได้ตามแบบเท่านั้น เมื่อ คิดแต่งเองโดยที่ไม่เคยเห็นแบบมาก่อน ย่อมจะมีความลำบากพอ สมควรเพราะจะต้องตีความให้แตก แยกประเด็นเนื้อความให้ออกก่อน ว่าตอนใดควรจะแต่งรูปประโยค ย ต ตอนใดไม่ควรเพราะไม่จําเป็น ดังนั้น จึงแยกมากล่าวไว้โดยเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ขอให้นักศึกษาพลิกกลับไปทบทวนเรื่องสังกรประโยค ทั้งในภาษา มคธและในภาษาไทยที่แสดงไว้แล้วในบทต้นๆ ให้เข้าใจให้ดีก่อน เพื่อ จะได้ทำความเข้าใจในเรื่องการปรุงประโยค ย ต ตรงกัน กล่าวคือ ประโยค ย ต หรือสังกรประโยคนี้ ประกอบด้วยส่วนของประโยค ๒ ประโยค คือ ประโยค ย เรียกว่าอนุประโยค หรือประโยคย่อย ทำ หน้าที่ขยายความ คล้ายกับเป็นวิเสสนะของบทที่ตนขยาย และประโยค ต เรียกว่า มุขยประโยค หรือประโยคใหญ่ ทำหน้าที่เป็นประโยคประธาน ในการตีความและปรุงแต่งให้เป็นประโยค ย ต ต้องอาศัยความชำนาญ และความเข้าใจในภาษาไทยและภาษามคธรวมกัน ซึ่งก็แล้วแต่ความที่ กำหนดให้แต่งด้วย นักศึกษาจึงยึดหลักเบื้องต้น ดังนี้ ๑. กรณีที่สำนวนไทยมีเนื้อความที่ยาว และสับสนวกวน และมี บทขยายความมาก นิยมแต่งเป็นประโยค ย ต เพื่อแยกประโยคให้ ชัดเจนขึ้น ๒. เนื้อความตอนใดบ่งว่าขยายเนื้อความตอนอื่น ให้แต่งเนื้อ ความตอนนั้นเป็น ประโยค ย ส่วนเนื้อความตอนอื่นให้แต่งเป็น ประโยค ต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More