ไวยากรณ์และสัมพันธ์ในการเรียงภาษามคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 109
หน้าที่ 109 / 374

สรุปเนื้อหา

บทที่ ๓ นี้เสนอให้เห็นถึงความสำคัญของไวยากรณ์และความสัมพันธ์ในภาษามคธ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลต่อความสามารถในการใช้ภาษาอย่างถูกต้อง โดยเน้นถึงการประกอบศัพท์และกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่จะต้องควบคุมให้สอดคล้องกัน เช่น การจัดเรียงประโยคที่ถูกต้อง การใช้ศัพท์ในลักษณะต่างๆ และความสำคัญของการเตรียมตัวก่อนการแสดงผล ล้วนแต่เป็นการแสดงถึงความสูงส่งของความรู้และศาสตร์ในภาษานี้. ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถศึกษาได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของไวยากรณ์
-การประกอบศัพท์
-กฎเกณฑ์ในการใช้ภาษา
-การติดตั้งความสัมพันธ์ในประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ ๓ ไวยากรณ์และสัมพันธ์ เรื่องไวยากรณ์และเรื่องสัมพันธ์ เป็นเรื่องสําคัญมากอย่างหนึ่ง ในการเรียงภาษามคธ เป็นการแสดงภูมิปัญญาขั้นพื้นฐานว่าแน่นเพียง ใดและสูงแค่ไหน อาจจะให้ผ่านชั้นนั้นๆ ได้หรือไม่ เพราะไวยากรณ์ และสัมพันธ์เป็นหลักเบื้องต้นที่จะต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจ ใช้ให้ ถูกต้องอยู่แล้ว การประกอบศัพท์ทุกศัพท์ ก่อนที่จะนำไปใช้ต้องให้ถูกหลัก ไวยากรณ์ ไม่ใช่จับเอาศัพท์เดิมที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งมาประกอบเป็นรูป ประโยคเลย เหมือนการแสดงละคร ก่อนที่ผู้แสดงจะออกมาแสดงนอก ฉาก จะต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยบริบูรณ์เสียก่อน มิใช่ปล่อยออกมา แสดงแบบล่อนจ้อน ไม่มีเครื่องทรงอะไรเลย และศัพท์นั้นจะต้อง ประกอบไวยากรณ์ให้ถูกกฎเกณฑ์ด้วย เช่น ถ้าเป็นศัพท์นาม ก็ต้อง ประกอบด้วยเครื่องปรุงของนาม คือ ลิงค์ วจนะ วิภัตติ ครบ ถ้า เป็นกิริยาอาขยาต ก็ต้องประกอบด้วยเครื่องปรุงของอาขยาต คือ วิภัตติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More