การแปลสำนวนไทยมคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 169
หน้าที่ 169 / 374

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงการแปลสำนวนมคธในภาษาไทย โดยเฉพาะการรับประทานอาหารและความนิยมในการแปลแบบที่ชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงความหมายผิด เน้นความสำคัญของการเข้าใจความสัมพันธ์ของคำในประโยค และวิธีการแปลที่ถูกต้องตามหลักการ กล่าวถึงการคำนึงถึงลำดับของบทที่จะแปลเพื่อให้ได้ความหมายถูกต้องและชัดเจน ไม่เพียงแต่การแปลแบบเหยียดลำดับตามใจชอบ.

หัวข้อประเด็น

-การแปลสำนวนไทย
-ภาษามคธ
-การศึกษาภาษา
-การใช้ศัพท์ในประโยค
-การทำความเข้าใจความหมาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สำนวนนิยม ๑๕๓ กลับเป็น ภาษามคธว่า “เอต์ อาหาร ภุญชาติ ฯ ถ้าแปลตามหลักการ แปลก็จะได้ว่า “รับประทานอาหารนั่นเสีย” การแปลแบบสํานวนไทยสันทัดนี้ สนามหลวงชอบแปลให้ผู้สอบ ทํา เพื่อทราบภูมิความรู้ว่า เข้าถึงสํานวนไทยและสํานวนมคธดีหรือไม่ หากแต่งตามใจชอบแล้วจะทําให้ผิดง่าย เช่นตัวอย่างนั้น ถ้าแยกประโยค เป็นว่า เอโส อาหาโร, ภุญชาติ ฯ เช่นนี้ก็ทำให้ประโยคยืดยาดยาว ออกไปอีกประโยคหนึ่ง ซึ่งประโยคลิงคัตถะข้างต้นนั้นก็มิได้ความหมาย อะไรเลย จึงถือว่าผิดความประสงค์ อย่างน้อยก็ทำให้เสียสัมพันธ์ ๑. ลํานวนการแปลวิภัตติ ความนิยมของสนามหลวงในเรื่องนี้ก็คือ ศัพท์ทุกศัพท์ทุกวิภัตติ ในประโยคอาจแปลก่อนได้ทั้งสิ้น ไม่จำเพาะว่าจะต้องแปลบทประธาน ก่อน แล้วแปลบทขยายประธาน บทกิริยา บทกรรม ไปตามลำดับ เหมือน ในวิชาแปลชั้นต้นๆ ถ้าหากแปลวิภัตติใดก่อนจะได้ใจความชัดเจน ไม่ เสียความแล้ว สนามหลวงจะนิยมแปลวิภัตตินั้นก่อนทีเดียว และท่าน จะไม่ออกสำเนียงอายตนิบาต เช่น ซึ่ง ของ ใน เป็นต้นไว้ให้ด้วย นอกจากจําเป็นจริงๆ เท่านั้น ซึ่งข้อนี้นักศึกษาต้องคอยสําเหนียกไว้ “ให้ รู้ว่าความตรงนี้ ทำหน้าที่อะไรในประโยค” เป็นบทกรรม บทขยาย กิริยา หรืออย่างไร แล้วให้ประกอบวิภัตติให้ถูกตามหลักสัมพันธ์ และ วางให้ถูกที่ตามหลักการเรียงดังกล่าวแล้วข้างต้น ศัพท์หรือความที่ท่านชอบแปลก่อนนั้น จะขอนำมาเป็นตัว อย่างให้เห็นเพื่อเป็นแนวทางศึกษา โดยนำมาจากสำนวนสนามหลวงที่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More