คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 310
หน้าที่ 310 / 374

สรุปเนื้อหา

คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธระดับ ป.ธ.๔-๙ เน้นให้ความสำคัญกับการแต่งประโยคที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และเนื้อหาที่มีอรรถรส นักศึกษาจะต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎไวยากรณ์และการเรียงศัพท์ที่แม่นยำ เพื่อให้การแปลและแต่งประโยคภาษาเป็นไปอย่างเหมาะสมและได้เนื้อหาที่ต้องการ การศึกษาวิชานี้ถือเป็นวิชาสำคัญในการเรียนภาษามคธที่นักศึกษาไม่ควรมองข้าม โดยการวางพื้นฐานที่ดี สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในวิชานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การแต่งไทยเป็นมคธ
-การศึกษา
-พื้นฐานของภาษา
-ไวยากรณ์
-หลักการเรียงศัพท์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๙๔ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ การแต่งไทยเป็นมคธ การที่นักศึกษาจะสามารถแต่งไทยเป็นมคธให้ได้ตามที่สนามหลวง ต้องการ คือให้ได้เนื้อหาตามที่กำหนด ได้อรรถรสทางภาษา และถูก หลักเกณฑ์การแปลไทยเป็นมคธนั้น เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและต้องใช้ ความรู้ความสามารถไม่น้อย เพราะภาษามคธเป็นภาษาที่มีระเบียบ แบบแผนค่อนข้างแน่นอนตายตัว มีความละเอียดอ่อนและสละสลวย อยู่ในตัว ศัพท์ที่ท่านใช้ก็ดี ประโยคที่ท่านใช้ก็ดี มีความหมายอยู่ในตัว หากใช้ผิดไปจะทําให้ความหมายผิดไปด้วย เป็นเรื่องที่จะต้องพิถีพิถัน เป็นพิเศษ มิใช่เพียงเขียนให้เป็นประโยคภาษามคธได้ก็ถือว่าใช้ได้ มิใช่ เพียงแค่นั้นเลย การนำศัพท์มาเรียบเรียงไว้ในประโยคให้ได้ถูกหลัก ได้ อรรถรสและได้ใจความเท่านั้น จึงจะนับว่าแต่งเป็น เนื่องจากวิชาแต่งไทยเป็นมคธเป็นวิชาสุดยอดวิชาหนึ่งของการ ศึกษาภาษามคธในประเทศไทย นักศึกษาจ่าเป็นจะต้องมีความรู้ในเรื่อง ของการแต่งเป็นอย่างดี แต่ที่สำคัญก็คือความรู้พื้นฐานที่เคยศึกษามา แล้วในชั้นต้นๆ ไม่ว่าจะเป็นวิชานักธรรมหรือบาลี เพราะจะต้องนำมา ใช้ในวิชานี้อย่างเต็มที่และถูกต้อง กล่าวโดยย่อก็คือจะต้องมีความรู้ใน เรื่องต่างๆ เหล่านี้ดี คือ 9. เรื่องไวยากรณ์ ต้องจำแบบไวยากรณ์ได้แม่นยำ นำมาใช้ได้ ทันที ๒. เรื่องหลักการเรียงศัพท์เข้าประโยค ซึ่งผ่านมาแล้วใน ชั้นต้นๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More