คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 190
หน้าที่ 190 / 374

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงแนวทางในการแปลภาษาไทยเป็นมคธ โดยแนะนำให้พินิจพิจารณาความหมายและบริบทของคำอย่างรอบคอบ รวมถึงการสะท้อนกิริยาอาการอย่างเหมาะสม แม้ว่าสำนวนแปลจะถูกต้องตามหลักการแต่หากไม่ตรงตามแบบแผน หรือมีการเลือกศัพท์ที่ไม่เหมาะสมอาจถือว่าผิด ทั้งนี้ เพื่อให้การแปลมีประสิทธิภาพมากที่สุด ควรมีการวิเคราะห์ภาพรวมของความหมายก่อนทำการแปลจริง.

หัวข้อประเด็น

-การแปลภาษาไทย
-ความสำคัญของบริบทในการแปล
-การเลือกใช้ศัพท์ในการแปล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๗๔ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ มีข้อสังเกตเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยว่า เมื่อเรียงเป็นภาษามคธแล้ว ลองแปลดูตามตัว พร้อมทั้งนึกภาพด้วยว่า ถ้าทำอย่างที่แปลนั้นแล้ว จะถูกกิริยาอาการที่แท้จริงหรือไม่ ถ้าถูกและเป็นไปได้ก็เป็นอันใช้ได้ แม้จะไม่ถูกตรงตัวทีเดียวนักก็พอไปได้ แต่บางทีก็เผลอไปเหมือนกัน เช่นความไทยว่า เตะ นึกถึงภาพว่าเตะ คือการประหารด้วย เท้า แต่งไปว่า ปาเทหิ ปหรติ อย่างนี้ แม้ใช้ถูก แต่ผิดที่วจนะ ก็ถือ ว่าเป็นผิดศัพท์ เพราะคนเราจะเตะทีเดียว ๒ เท้า เป็นไปไม่ได้ ดังนี้ เป็นต้น จึงควรพินิจพิจารณาให้รอบคอบด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More