การสร้างประโยคภาษามคธ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 337
หน้าที่ 337 / 374

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงหลักการของการแต่งประโยคในภาษามคธ โดยมีการตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับการเรียนนั้นๆ และการสร้างประโยคที่มีโครงสร้างเฉพาะ ด้วยการมีเนื้อความที่ผ่านมาแล้วโดยมีข้อแม้ รวมถึงเกณฑ์ที่ต้องคำนึงถึงในการปรุงประโยค และแสดงตัวอย่างการสร้างประโยคซึ่งเป็นกระบวนการศึกษาที่สำคัญในภาษานี้ เพื่อให้เข้าใจแนวทางในการแต่งข้อความอย่างถูกต้องและเหมาะสม

หัวข้อประเด็น

-การสร้างประโยคในภาษามคธ
-สมมติฐานและการสอบ
-การปรุงประโยค
-กาลาติปัตติ
-การศึกษาและการเรียนรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทองที่ได้มา ฯ หลักการแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ ๓๒๑ ข้อความนี้เป็นการตั้งสมมติฐานเอาว่า ถ้าขยันเรียนก็คงสอบได้ แล้ว ซึ่งแสดงว่าความจริงไม่ได้ขยันเรียน และยังสอบไม่ได้ หรือสม มติเอาว่า ถ้ารู้จักกินรู้จักใช้ ก็คงเป็นเศรษฐีไปแล้ว แสดงว่าปัจจุบันเขา ไม่ได้เป็นเศรษฐีอย่างที่ว่า ในการปรุงประโยคกาลาติปัตตินี้ มีเกณฑ์ความนิยม ดังนี้ ๑. ข้อความนั้นจะต้องเป็นข้อความที่ผ่านเลยมาแล้ว แต่ถูกนํามา เล่าใหม่โดยมีข้อแม้หรือเหมือนมีข้อแม้อยู่ด้วย และจะต้องมีเนื้อความ เป็นสองตอน ในแต่ละตอนนั้นเนื้อความจะตรงข้ามกับเรื่องจริงเสมอ และจะต้องมีข้อความที่แสดงว่าผ่านเลยมาแล้วปรากฏอยู่ในอีกตอน หนงเสมอ ๒. ปรุงประโยคภาษามคธให้เป็นสองประโยค โดยประโยคที่บอก ความที่ผ่านเลยมาแล้ว ให้มีกิริยาหมวดกาลาติปัตติคุมพากย์ และมี นิบาตบอกปริกัป คือ ยที่ สเจ หรือ เจ หรือมีนิบาตอื่นที่ทำหน้าที่คล้าย นิบาตบอกปริกัปอยู่ต้นประโยค ซึ่งแล้วแต่เนื้อความ ส่วนอีกประโยค หนึ่งจะมีกิริยาหมวดกาลาติปัตติ หมวดภวิสสันติ หรือหมวดอื่นใด คุมพากย์ก็แล้วแต่เนื้อความเช่นกัน พิงทําความเข้าใจโดยศีกษาจากตัวอย่าง ดังนี้ - สจาย ปุริโส อิตตรสตฺโต อภิวิสส น อมหาก อาจริโย เอวรูป์ อุปม์ อาหริสฺสติ ฯ (๑/๑๐๒)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More