การศึกษาและการแปลสำนวนนิยมในภาษาไทย คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 167
หน้าที่ 167 / 374

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์การใช้สำนวนนิยมในบทสนทนาไทย โดยยกตัวอย่างการใช้ เช่น การแปลคำว่า 'กิมงค์ ปน' การเรียงประโยคและวิธีการตอบ สรุปข้อควรระวังในการแปลและความสำคัญของการเชื่อมโยงเนื้อความภายในประโยคเพื่อให้การสื่อสารชัดเจน อธิบายถึงหลักการและเทคนิคในการแปลสำนวนนิยม ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าใจและใช้ได้อย่างถูกต้อง.

หัวข้อประเด็น

-การใช้สำนวนนิยม
-การแปลประโยค
-หลักการเรียงประโยค
-การสื่อสารในภาษาไทย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สำนวนนิยม ๑๕๑ เท่านั้น สํานวนเช่นนี้สนามหลวงนิยมแปลเต็มความเพื่อทดสอบภูมิดู เช่น : ก็พระเถระนั้นกำลังฆ่าอยู่ เธอเห็นหรือ ฯ พระเถระนั้น กำลังฆ่าอยู่ พวกข้าพระองค์ไม่เห็น พระเจ้าข้า ฯ : ก ปน โส ตุมเหหิ มาเรนโต ทิฏโฐติ ฯ น ทิฏโฐ ภนฺเตติ ๆ (๑/๑๘) จะตอบว่า “โน ภนฺเต” ก็ได้ แต่จะตอบเพียงว่า “น” หรือ “น ภนฺเต” ไม่นิยม ดังนี้ ประโยค กิมงฺนํ ปน กิมงค์ ปน นิยมแปลกันว่า “จะป่วยกล่าวไปไยถึง” มีวิธีเรียง (๑) ประโยค กิมงค์ ปน จะต้องมีเนื้อความเชื่อมต่อกับประโยค ข้างต้น โดยใช้กิริยาตัวเดียวกัน แต่ต่างหมวดวิภัตติกัน คือ ถ้าประโยค ต้นกิริยาเป็นวิภัตติหมวดวัตตมานา กิริยาในประโยคหลัง คือ ประโยค กิมงค์ ปน จะต้องเป็นหมวดภวิสสันติ ถ้าประโยคต้นเป็น ภวิสสนฺติ ประโยค กิมงค์ ปน จะต้องเป็นวัตตมานา สลับกันเช่นนี้ (๒) กิมงค์ ปน จะต้องเรียงไว้ต้นประโยคเสมอ นอกนั้นให้ เรียงไว้หลัง กิมงค์ ปน ทั้งหมด (๓) กิริยาในสองประโยคนี้ ให้วางไว้เพียงในประโยคเดียว จะ วางไว้ในประโยคต้นหรือในประโยคหลังก็ได้ แม้จะละไว้ก็ตาม เวลา แปลต้องใส่เข้ามา ตามหลักข้อ (๑)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More