คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ วิชาแต่งไทยเป็นมคธ ป.ธ.๙ หน้า 124
หน้าที่ 124 / 374

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการใช้กาลในภาษามคธโดยการเน้นถึงความสำคัญของการเลือกใช้กิริยา เช่น อาขยาตคุมพากย์และกิริยากิตก์ และความสำคัญของการสังเกตกาลในสำนวนไทย เนื่องจากการใช้กาลผิดอาจทำให้เสียอรรถรสภาษา นักศึกษาจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้เพื่อนำไปสู่การแปลและการเขียนภาษามคธได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ หากมีความชัดเจนในเรื่องกาล จะทำให้การแปลไม่มีปัญหา และกาลที่ใช้ในมคธมีที่มาจากอาขยาตและกิตก์ซึ่งมีวิธีใช้เฉพาะที่ต้องเรียนรู้ให้ดีเพื่อเพิ่มความเข้าใจในภาษา.

หัวข้อประเด็น

-การใช้กาลในภาษาไทย
-กิริยาอาขยาตคุมพากย์
-กิริยากิตก์
-ความสำคัญของการสังเกตกาล
-แนวทางการแปลภาษาเมคธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑O๘ คู่มือวิชาแปลไทยเป็นมคธ ป.ธ.๔-๙ (๕) ในประโยคเลขนอก หรือ ประโยคเดินเรื่อง นิยมใช้กิริยา อาขยาตคุมพากย์มากกว่ากิริยากิตก์ และส่วนมากจะใช้วิภัตติหมวด อัชชัตตนี (5) ในประโยคเลขใน ที่เป็นอดีตกาล นิยมใช้กิริยากิตก์ คุมพากย์ โดยเฉพาะในรูปกัมมวาจก เรื่องกาล ความจริง เรื่องกาลนี้หากไม่สังเกตให้ดีหรือมองเผินๆแล้ว ก็อาจ จะเห็นว่าไม่เป็นเรื่องสำคัญและไม่ร้ายแรงนัก แต่พอมาถึงวิชาแปล ไทยเป็นมคธเข้า กลับเป็นเรื่องสำคัญขึ้นมาทีเดียว เพราะเมื่อใช้กาล ผิด ก็อาจทำให้เสียอรรถรสของภาษาได้ แม้บางทีจะไม่ถึงกับทำให้เสีย ความก็ตาม เพราะฉะนั้น นักศึกษาจึงต้องสำเหนียกจดจำ และศึกษา เรื่องกาลให้ “เข้าถึง” จริงๆ จึงจะสามารถแต่งหรือเขียนภาษามคธ ได้ดี การสังเกตกาล หากสำนวนไทยออกกาลไว้ให้ชัดเจน เช่น “อยู่ ย่อม, กำลัง, แล้ว, ได้แล้ว” ก็มักจะไม่มีปัญหา ถ้าสำนวนไทยมิได้ แปลออกกาลไว้ให้ จำต้องศึกษาให้เข้าใจว่าเป็นกาลอะไรจึงจะใช้ถูก กาลที่ใช้ในภาษามคธ มีที่มา ๒ แห่ง คือ กาลในอาขยาต กับ กาลในกิตก์ กาลในอาขยาตรู้ได้ด้วยวิภัตติซึ่งประกอบกับธาตุในศัพท์ กิริยาคุมพากย์นั้นๆ กาลในกิตก์รู้ได้ด้วยปัจจัยซึ่งประกอบกับธาตุใน ศัพท์กิริยานั้นๆ ซึ่งขอแยกชี้แจงและวิธีใช้โดยละเอียด ดังนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More