ข้อความต้นฉบับในหน้า
ทิวรวบรวมไว้ หรือเปรียบเทียบกับ "ภาพรวมวิชาชาธรรมาภาย" ที่ได้แสดงไว้เป็นข้อมูลพื้นฐานในบทที่ 2
2. เกณฑ์ในการคํานวณปีพุทธศักราชและพุทธศตวรรษจากแหล่งอ้างอิงสากล
เนื่องจากงานวิจัยนี้อาศัยข้อมูลทั้งในภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ซึ่งกล่าวถึงอายุคัมภีร์หรือกำหนดเวลาทางประวัติศาสตร์เป็น พ.ศ. บ้าง ค.ศ. บ้าง และพุทธศตวรรษบ้าง คริสต์ศตวรรษบ้าง จึงต้องมีการเทียบปี ค.ศ. เป็น พ.ศ. และคริสต์ศตวรรษเป็นพุทธศตวรรษ เพื่อให้สามารถประมวลเหตุการณ์ได้ตามลำดับเวลา
ในกรณีทั่วไป งานวิจัยนี้อ้างอิงตามหลักการต่อไปนี้
1. ใช้ระบบปี พ.ศ. ของไทยในปัจจุบันเป็นหลัก
2. ในการอ้างอิงงานวิจัยที่ระบุปี ค.ศ. จากแหล่งข้อมูลดังเดิมที่ระบุเป็น ค.ศ. มาตั้งแต่ต้น เช่นการตรวจอายุคัมภีร์ หรือการระบุเวลา ที่ค้นพบ คัมภีร์โดยนิรนิตย์ฐาน จะเทียบเป็น พ.ศ. โดยบวก 543
24
3. ในการอ้างอิงงานที่ระบุเวลาเป็นคริสต์ศตวรรษที่ระบุไว้ด้วยอย่างกว้างๆ เช่น คริสต์ศตวรรษที่ 4 จะเปลี่ยนเป็นพุทธศตวรรษโดยครอบคลุมช่วงเวลาที่
24 แม้ว่าในงานวิจารณ์วรรณคดีส่วนใหญ่เทียบตาม พ.ศ. โดยการใช้อ้างอิงจาก ค.ศ. ราว 400 หรือ 480 ปี ซึ่งนักวิชาการแต่ละท่านนำเสนอเป็นตัวเลขที่แตกต่างกันและไม่ได้เป็นที่จดจำบ่อยๆ ตามที่เข้าใจเป็นช่วงเวลาของพุทธบริบทพจนาก็ตาม แต่หากนำระบบดังกล่าวมาใช้กับคนไทย จะเกิดการรับรู้ช่วงเวลาที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อน เพราะปฏิทินของไทยกำหนด พ.ศ. ที่ต่างจาก ค.ศ. เป็นระยะเวลา 543 ปีมานานแล้ว
บทที่ 1 หน้า 135