ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมาภายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
บาลีเป็นคำสอนเดิมที่เก็บรักษาพระพุทธวจนะสืบต่อมาอย่างถูกต้องไม่ตกหล่นทุกถ้อยคำ ในเวลาต่อมา นักวิชาการจำนวนมากแสดงความเห็นว่าพระไตรปิฎก ลีเก็บรักษาคำสอนในพระพุทธศาสนาจากมุมมองของเฑรวาทเท่านั้น ยังไม่อาจเป็นตัวแทนของคำสอนดั้งเดิมในพระพุทธศาสนาได้อย่างสมบูรณ์ (Chen 1947: 207; Collins 1991; Choong 2000; Skilling 2010: 5-6)36 การที่จะเข้าใจภาพรวมคำสอนของพระพุทธศาสนาในยุคดังเดิมได้ถูกต้องตามที่เป็นจริงจึงต้องศึกษาคัมภีร์อื่นๆ ร่วมด้วย
อย่างไรก็ตาม ในเวลาที่ผ่านมามีเพียงพระไตรปิฎกฉบับของเฑรวาทเท่านั้นที่เก็บรักษาได้ครบถ้วนในภาษาท้องถิ่นอินเดีย ส่วนคำสอนของนิกายหลักอื่นๆ นั้น ฉบับเดิมที่เคยเชื่อว่าจะเขียนในภาษาสันสกฤตดูเหมือนจะสูญหายไปหมดหรือเกือบหมด การศึกษาคำสอนดั้งเดิมในนิกายหลักอื่นๆ จึงต้องศึกษาจากพระไตรปิฎกที่แปลในภาษาจีนเป็นหลัก ซึ่งมีหลักไว้วรรณ
36 คอรินส์ (Collins) กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของบันทึกพระไตรปิฎกฉบับลายลักษณ์อักษร โดยเชื่อมโยงเข้ากับเรื่องราวการแข่งชันระหว่างพระเถรในสำนักมหาวีรกับสำนักอภัยคีรีในศรีลังกา เพื่อแสดงว่า การที่พระเถรฝ่ายมหาวีรบันทึกพระไตรปิฎกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรพร้อมทั้งเขียนเล่าด้านความเป็นมาไว้ในอถรดานนี้ เพื่อ “ตีราคา” คำสอนตนเองเขียนขึ้นว่าเป็น “คำสอนที่แท้แล้วดังเดิมเพียงหนึ่งเดียวของพระพุทธเจ้า” เขาเสนอมองว่าน่าจะ ควรมองว่าพระไตรปิฎกฉบับเป็นตัวแทนคำสอนในเถรวาทมากกว่า บทความนี้ได้กลายเป็นหลักฐานอ้างอิงในงานวิชาการจำนวนมาก
สกุลลิ้ง (Skilling) แสดงความเห็นว่า เฑรวาทเป็นเพียงหนึ่งใน 18 นิกายหลักเท่านั้น จึงไม่ใช่คำสอนเดิมเพียงหนึ่งเดียว และบางคัมภีร์ของมหายานยังเก่าแก่กว่าพระไตรปิฎกที่พระพุทธโสรสแปลจากภาษาสิงหลนบเป็นตรรกะหรือว่ากว่ากัน