ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมภายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
4.2.1. พุทธานุสติในเอเชียอเนย์
โดยเหตุที่การเจริญพุทธานุสติในเอเชียอเนย์มีหลักฐานเก่าแก่ที่สุดในพระไตรปิฎกและอรรถกถาบาลี ดังนั้น ก่อนจะไปศึกษาเนื้อหาคัมภีร์ที่เขียนในท้องถิ่น จึงควรศึกษาภาพรวมการปฏิบัติพุทธานุสติที่แสดงในพระไตรปิฎกและอรรถกถาสีโดยสังเขปเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาพุทธานุสติที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ต่างๆ ต่อไป
4.2.1.1. พุทธานุสติในพระไตรปิฎกและอรรถกถาสี
พุทธานุสติ มาจากคำบาลีว่า พุทธานุสติ เป็นศัพท์สมาสประกอบด้วยคำศัพท์ 2 คำคือ พุทธ และ อนุสติ คำว่า พุทธ นั้นในพระไตรปิฎกบาลีหมายถึง องค์พระพุทธเจ้า แต่ในอรรถกถามีการขยายความออกไปว่าหมายถึงพระพุทธคุณ คือคุณธรรมต่างๆ ของพระพุทธองค์ด้วย ส่วน อนุสติ ก็ คือสติหรือความระลึกที่เกิดขึ้นบ่อยๆ เนื่องๆ เมื่ อรวมความแล้วพุทธานุสติ จึงหมายถึงการตามตรึกระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ประกอบด้วยพุทธคุณต่างๆ หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า เป็นชื่อของสติที่มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์นั่นเอง
คำว่า พุทธานุสติ มีปูไว้ในพระไตรปิฎกถึง 29 ครั้ง ในอรรถกถา 83 ครั้ง ในฎีกา และในคัมภีร์ปกรณ์อันอื่นๆ อีกไม่ต่ำกว่า 75 ครั้ง ซึ่งบ่งบอกว่าชาวพุทธเคร่งรู้จักและค้นเคยกับพุทธานุสติเห็นอย่างดี
[50] นำจากงานวิจัย “พุทธานุสติในคัมภีร์พุทธศาสนาภาษาบาลี” (พระมหาสุพรธรรม สุรโตน 2557)
362 | ดร. ชนิภา จันทราศรีโล