ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมภายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
ปฏิบัติธรรมบันทึกไว้ในสมุดข่อหรือใบลาน ซึ่งในภายหลัง พระมหาโชติปัญโญ (ผมใจ ยโสธรรมน์) วัดบรมสินาวาส ได้รวบรวมบางส่วนจากที่ต่างๆ มาไว้เป็นเล่มเดียวกันในปี พ.ศ. 2479 ให้ชื่อว่า “หนังสือพระสมาธิสนทนาแบบโบราณ” ซึ่งต่อมาได้ชื่อใหม่อีกครั้งว่า “พุทธธัชญาอิฏฐิญาณ” ว่าด้วยสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน 4 ยุค เป็นคำรีปฏิบัติธรรมเก่าแก่จากเวียงจันทน์บ้าง จากกรุงเก่าคือพระนครศรีอยุธยาบ้าง จากลพบุรี และจากนครสวรรค์บ้าง ส่วนในภาคเหนือและภาคอีสานมีกำรธรรมปฏิบัติ เช่นเดียวกัน ต่างคนต่างบันทึกไว้ในใบลานบ้าง สมุดบ้าง ด้วยอักษรธรรมล้านนา อักษรธรรมลาว และอักษรธรรมอีสาน เป็นต้น เนื้อหาของบางคัมภีร์เช่นมรรรัมฐานอักษรล้านนาบ่งบอกว่าเป็นการบันทึกสรุปมาจากการปฏิบัติของหลายอาจารย์ แบบแผนการปฏิบัติธรรมท้องถิ่นในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียงในเอเชียอาคเนย์เหล่านี้มีการเรียกรวมๆ โดยนักวิชาการการวันดกกว่า “โยคาวจร” โดยอัษยศัพท์ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ซึ่งเรียกผู้ปฏิบัติว่า “โยคาวจร” แต่ในงานวิจัยตะวันตกมิได้คำนิยามในความหมายกว้างกว่านั้น โดยหมายรวมถึงพระพุทธศาสนาที่บํือและปฏิบัติแพร่หลายอยู่ในดินแดนอิเปเชียอาคเนย์ก่อนพุทธศตวรรษที่ 25 (Crosby 2000: 141)
ความนิยมในการปฏิบัติสมาธิภาวนา และพระภิกษุผู้ทรงคุณวิเศษยังมีอยู่มากในประเทศไทยต่อเนื่องมาจนถึงเวลาที่พระมงคลเทพมุนีสอนวิชาธรรมกายที่วัดปากน้ำแล้ว ดังที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ปุญ) ทรงบันทึกไว้ในเรื่องราวเกี่ยวกับพระมงคลเทพมุนี ถึงเรื่องการติดต่อหรือไปมหาสู้กัน