ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมภายในคัมภีร์ทฤษฎีพุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
ในการต่อสูที่จะกลับไปสู่สภาวะดังเดิมที่สะอาดบริสุทธิ์ของจิตดังที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฏกว่าสามารถ ที่ผ่านมาอย่างตรงกันกับหลักการตกครรภ์ในพระพุทธศาสนามหายานนั้น บ่งบอกถึงคำสอนที่เป็น "แกนกลางร่วมกันระหว่างพระพุทธศาสนาต่างนิกาย" ที่น่าจะเป็นคำสอนเก่าแก่ที่มีมานั่งตั้งแต่ก่อนการแตกนิกายแล้ว และเป็นหัวใจคำสอนในพระพุทธศาสนาที่หลายนิกายยกย่องไว้ว่า "ตกครรภ์สูตรของอินเดีย เขียนขึ้นโดยชาวพุทธ เป็นภาพรวมที่สมบูรณ์ของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ดังเดิมมาก ๆ และน่าจะไม่ได้เขียนขึ้นเพื่อโต้ตอบนักคิดรุ่นหลังอย่างที่หลาย ๆ ท่านเข้าใจ เพราะน่าจะเขียนขึ้นมาตั้งนานก่อนยุคของการถกเถียงกันเชิงปรัชญา และไม่ใช่เขียนเพื่อจะให้พุทธปรัชญาให้ถูกต้องแต่เพื่ออธิบายให้ชาวพุทธในยุคแรกเข้าใจว่าวุทธภาวะนั้นมีอยู่แล้วภายในตัวทุกคนและมีความเต็มเปี่ยมบริบูรณ์อยูภายใน” (Zimmermann 2011)
5.2.2.2. นิพพานเป็นแก่นสาร เที่ยงแท้ เป็นสุข ไม่มีแก่ และไม่มีตาย
คัมภีร์ของโยคาวจรในเอเชียอาคเนย์กล่าวถึงนิพพานว่า เป็นธรรมที่เที่ยงแท้ เป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นแก่นสาร ไม่มีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย (4.2.3.1) ส่วนคัมภีร์ภาษาคานธาริตีจากค้นธารโบรกกล่าวว่า นิพพานธาตุไม่มีความชรา คือเป็นสภาวะที่เที่ยงแท้ ไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น (3.1.3) และเป็นสุขที่เที่ยงแท้ ไม่กลับกลายเช่นกัน (3.1.8) ส่วนพระพุทธศาสนามหายานที่พบในดินแดนที่เชื่อมต่อกันด้วยเส้นทางสายไหม กล่าวถึงธรรมภายในนิพพานใน