ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมภายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
อาจกล่าวได้ว่าการระลึกถึงธรรมภายในอยู่เสมอๆนั้น เป็นแนวทางปฏิบัติที่ตรงกันของทั้งวิชชาธรรมภายและคำสอนในคาถาธรรมภาย อย่างไรก็ดี การระลึกถึงพระธรรมภายตามนัน้ของพระมงคลเทพมุนีที่แสดงไว้ข้างต้นนั้นเป็นคำแนะนำที่ผู้เข้าถึงพระธรรมภายแล้วเท่านั้นจึงจะทำได้ ส่วนในเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ยังไม่เข้าถึงพระธรรมภาย ท่านแนะนำให้เจริญภาวนาน้อยๆใจหยุดนิ่งที่ศูนย์กลางกาย อันเป็นหนทางเดียวที่จะทำให้เข้าถึงพระธรรมภายและอยู่กับพระธรรมภายได้อย่างนั้น
พุทธะนะ ธรรมะนะ สังฆะนะ ทั้ง ๓ นี้อยู่ที่ไหน? อยู่ในตัวของเรานี่เอง อยู่ในตัวตรงไหน? ... พระพุทธเจ้าอยู่กลางใจ... พระพุทธเจ้าอยู่ในใจหรือในใจ? ให้เอาใจไปหยุดนิ่งอยู่ตรงนั้น พอใจหยุดนิ่งก็เข้ากลางของใจที่หยุดนิ่งนั้นเป็นอย่างๆ เข่าไปจน ถึงพุทธะนะ ธรรมะนะ สังฆะนะ เราต้องรู้ ถ้าไม่รู้เราจะระลึกถึง พุทธะนะ ธรรมะนะ สังฆะนะ ไม่ถูก (ธ. 376)
แม่ในคาถาธรรมภาย จะไม่ได้กล่าวถึงการเจริญสัมภาวนาโดยตรง แต่การที่สอนให้ตรักระลึกถึงพระธรรมภายในอย่างๆ ก็คือการสอนให้ทำสมาธิในตัวเองแล้ว องค์คำว่า “โยคาวจรจุลบุตรผู้มีญาณอันผสมกล้า” นั้นน่งบอกอยู่ในตัวเองแล้วว่า กล่าวถึงผู้ที่มีใจหยุดนิ่งดีแล้วจากการเจริญสมาธิภาวนา จึงกล่าวได้ว่า คำแนะนำในการเจริญภาวนาที่ปรากฎในคาถาธรรมภายนี้ เป็นหลักการที่ตรงกันกับหลักการของวิชชาธรรมภาย และเป็นสิ่งที่ทำให้คัมภีร์มีคาถาธรรมภายถูกถ่ายทอดอยู่ในกลุ่มคำธีรสปฏิบัติหรือโยคาวจรโดยนักวิชาการบางท่าน (Crosby 2000: 142)