ข้อความต้นฉบับในหน้า
หลักฐานธรรมกายในคัมภีร์พุทธโบราณ 1 ฉบับวิชาการ
ธรรมชาติกของหลักฐานธรรมกายในเอเชียอาคเนย์ แต่งต่างจากหลักฐานในคันธาระ เอเชียกลาง และประเทศจีนเป็นอย่างมาก ในขณะที่หลักฐานที่นําศึกษาจากดินแดนตอนเหนือของอินเดียมีความหลากหลาย ทั้งในเรื่องของนิกายนที่เกี่ยวข้องซึ่งมีทั้งนิกายนานิกาย และมาหายาน และในเรื่องประเภทของหลักฐานที่มีทั้งพระสูตรของนิกรรมหลัก พระสูตรมหายานที่มีเนื้อหาหลากหลาย คัมภีร์แนะนำธรรมปฏิบัติ ตลอดจนโสคลสรรเสริญพระพุทธคุณ และคัมภีร์ท้องถิ่นอื่นๆ การศึกษาหลักฐานในเอเชียอาคเนย์ก็เน้นการเจาะลึกในคัมภีร์พระพุทธศาสนาภายใน เฉพาะที่เป็นคัมภีร์แนะนำการปฏิบัติสมาธิร่วมกับคาถาสรรเสริญพระพุทธคุณเท่านั้น โดยเหตุนี้ การประมวลผลงานวิจัยของสองภูมิภาคจึงอ่อนมีความลักหลั่นกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ดี การนำเสนอผลการวิจัยในหนี่จะพยายามรักษารูปแบบให้ใกล้เคียงกันในบทที่ 3 เท่าที่จะทำได้
ในเอเชียอาคเนย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านได้แก่ประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ต่างมีพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนหลักของประเทศมาช้านาน จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราได้พบคัมภีร์พระพุทธศาสนาจำนวนไม่น้อยจากหลายท้องที่ในประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง แม้คัมภีร์ที่พบในท้องถิ่นนี้จะอายุไม่เก่าแก่นักเมื่อเปรียบเทียบกับคัมภีร์ที่พบในคันธาระและเอเชียกลาง ทั้งนี้เนื่องด้วยภูมิอากาศร้อนชื้นของเอเชียอาคเนย์ทำให้เก็บรักษาคัมภีร์ได้ไม่นานมากนัก หากเนื้อหาของคัมภีร์นั้นเป็นคำสอนที่คัดลอกสืบต่อกันมาเป็นเวลาไม่น้อยแล้ว คำสอนในบางส่วนอาจสืบย้อนกลับไปถึงรวงพุทธศตวรรษที่ 5 เป็นอย่างน้อยดังที่มีปรากฏข้อความรับรองในพระไตรปิฎกบลี